เมิ่งจื้อ(372-289ปีก่อนคริสต์ศักราช)เป็นนักคิดผู้ยิ่งใหญในสมัยจั้นกั๋ว (ปี 475 - 221 ก่อนคริสต์ศักราช)่ เป็นตัวแทนสำคัญแห่งสำนักปรัชญาขงจื้อหรือเรียกว่า”หยูเจีย”ใน ประวัติศาสตร์ของจีน
เมิ่งจื้อแซ่เมิ่ง มีชื่อว่า เคอ(轲)
สืบเชื้อสายตระกูลขุนนางในรัฐหลู่ ซึ่งเป็นบ้านเกิดของขงจื้อ(เมืองโจว เฉิงมณฑลซานตุงในปัจจุบัน)สมัยที่เมิ่งจื่อมีชีวิตอยู่นั้น เป็นยุคที่มี ปรัชญาการเมืองนับร้อยสำนัก เมิ่งจื่อเป็นครูสอนหนังสือ มีประสบ การณ์คล้ายๆกับขงจื้อ ต่อมา ได้เดินทางไปเผยแพร่คำสอนต่างๆของ ขงจื้อ โดยมีลูกศิษย์ลูกหาติดตามไปด้วยเป็นจำนวนไม่น้อย เมิ่งจื้อ เป็นผู้สืบทอดและพัฒนาแนวคิดขงจื้อในยุคต่อมา ได้สร้างระบบแนว คิดที่สมบูรณ์ ส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อชนรุ่นหลัง จึงได้ชื่อว่า เป็น “นักปรัชญาเมธีผู้ยิ่งใหญ่ที่รองจากขงจื้อ”
เมิ่งจื้อได้เสริมการเน้นย้ำถึงความสำคัญของเมตตาธรรมที่เป็นการเสริม แนวคิดหลักของขงจื้อกล่าว คือคนเรานั้นมีความดีเป็นพื้นฐานโดย ธรรมชาติ แต่ก็จะต้องมีพัฒนาการที่ก้าวหน้า เขาได้เสนอให้ผู้ ปกครองบ้านเมืองต้องถือหลักเมตตาธรรม ต้องให้ประชาชนให้ได้ ทำมาหากินอย่างสุขสงบโดยให้ความสำคัญต่อราษฎรยิ่งกว่าชนชั้นผู้ปกครอง แนวคิดเหล่านี้ถือเป็นแนวคิดหลักของเมิ่งจื้อ เมิ่งจื้อยืนยันว่า ผู้ปกครองคนใดที่คงไว้ซึ่งคุณธรรมอย่างสมบูรณ์ ทั้งแผ่นดินก็ย่อมอยู่ในกำมือของเขา ผู้ปกครองต้องปฎิบัติตนเป็น ตัวแทนของประชาชนและจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนหรือยอมรับจากประชาชน แม้ว่าแนวคิดของเมิ่งจื้อจะมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งและยาวไกลทั้งทางด้านการเมือง ความคิด วัฒนธรรมและศีลธรรมของ สังคมในยุคต่อมาก็ตาม แต่เนื่องจากแนวคิดหลักการปกครองว่าด้วย เมตตาธรรมของเมิ่งจื้อไม่ได้รับการยกย่องนับถือจากผู้ปกครองในยุค นั้น เขาจึงได้แต่ถอนตัวเองออกมาและบันทึกผลงานเขียนอันทรงคุณค่าไว้ให้ ชนรุ่นหลัง