ผู้ทำวิจัยเรื่องอัตวิสัยในวลีประกอบตัวเลขไม่แสดงจำนวนแน่ชัดและปัจจัยเน้นความหมายในภาษาจีนปัจจุบัน
ขณะศึกษาในระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยปักกิ่งโดยทุนรัฐบาลจีน(China Scholarship Council-CSC) ดร.ณัฏฐนิจ แช่มสุวรรณวงศ์ ทำวิจัยเรื่องอัตวิสัยในวลีประกอบตัวเลขที่ไม่แสดงจำนวนแน่ชัดและปัจจัยเน้นความหมายในภาษาจีนปัจจุบัน ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี้จะบ่งบอกถึงตัวเลขในวลีจีนที่ไม่ใช่สุภาษิต ซึ่งมีบางส่วนที่คนต่างชาติอาจจะเข้าใจผิดแล้วสื่อสารกันไม่เข้าใจ คือ คนจีนเข้าใจในความหมายหนึ่งแต่คนต่างชาติเข้าใจอีกความหมายหนึ่ง อย่างเช่น ภาษาไทยเราพูดสามวันดีสี่วันไข้ ซึ่งเลข 3 กับเลข 4 ไม่ได้แปลว่า 3 วัน หรือ 4 วันจริง ๆ แต่หมายถึงเจ็บป่วยบ่อย ๆ หรือภาษาไทยพูดคำว่าโจร 500 ก็ไม่ใช่โจรมา 500 คน ภาษาจีนก็มีอย่างนี้เหมือนกัน แต่ว่าเราจะศึกษาในระดับที่อาจจะมีกลิ่นไอของจำนวนนิด ๆ หรือในรูปของประโยคไม่ใช่เป็นสำนวนอย่างนี้ ซึ่งบางทีเราจะเทียบเคียงกับภาษาไทยหรือภาษาอื่นเลยไม่ได้ เช่น
อี้เหลี่ยนฮั่น(一脸汗)อี้(一)แปลว่า 1 เหลี่ยน(脸)แปลว่าหน้า ฮั่น(汗)แปลว่าเหงื่อ แปลตรงๆว่าหนึ่งหน้าเหงื่อ แต่จริง ๆ แล้วแปลว่าเหงื่อท่วมหน้า
อี้โส่วหนี(一手泥 )อี้(一)แปลว่าหนึ่ง โส่ว(手)แปลว่ามือ หนี(泥)แปลว่าโคลน รวมแล้วแปลว่าโคลนเต็มมือ
จะเห็นได้ว่าหนึ่งในที่นี้ไม่ได้แปลว่าจำนวนหนึ่งแต่หมายถึงระดับที่แปลว่าเต็ม ท่วม หรือมาก
(หมายเหตุ: “一” หากปรากฏเดี่ยว ๆ จะออกเสียงว่า“อี”แต่หากพยางค์ที่ตามมาเป็นเสียงสองหรือเสียงสาม จะออกเสียงเป็น“อี้”)