ธรรมดามี 365 วัน แต่ปีอธิกสุรทินจะมี 366 วัน ตั้งแต่สมัยโบราณ ชาวจีนแบ่งทุกปีเป็น 24 ฤดูกาล หรือ 24 เจี๋ยชี่ ตามสภาพภูมิอากาศที่ตอนปลายของแม่น้ำฮวงโห ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของประเทศจีน โดยแต่ละเจี๋ยชี่มีประมาณ 15 วันเริ่มตั้งแต่ฤดูใบไม้ผลิจนถึงฤดูหนาว เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2016 24 ฤดูกาลของจีนได้ถูกบันทึกไว้ในบัญชีรายชื่อมดรกโลกทางวัฒนธรรม ทำให้ 24 ฤดูกาลของจีนเป็นที่รู้จักในสากลมากยิ่งขึ้น
ส่วนกลางเดือนมิถุนายนกำลังอยู่ในฤดูกาลหมางจ้ง ซึ่งเป็นฤดูกาลอันดับที่ 9 ของฤดูกาลของจีน นับตั้งแต่วันที่ 6 มิถุนายนถึงวันที่ 21 มิถุนายน ในภาษาจีน คำว่า หมางจ้งมีความหมายลึกซึ้ง หมางแปลว่า คมปลายรวงข้าวสาลี ส่วนจ้งแปลว่า ปลูก ฉะนั้น หมางจ้งก็แปลว่า ในช่วงนี้ เมล็ดของข้าวบาร์เลย์และข้าวสาลีสุกแล้ว ชาวนาต้องรีบเก็บ ส่วนเมล็ดข้าวเจ้าหรือธัญพืชอื่นที่มีคมปลายนั้น ชาวต้องรีบปลูก
ในช่วงฤดูกาลหมางจ้ง พื้นที่ส่วนใหญ่ของจีนมีปริมาณน้ำฝนเยอะ โดยเฉพาะจีนภาคใต้ ซึ่งรวมทั้งมณฑลกวางตุ้งและกวางสีจะเป็นช่วงที่มีฝนมากที่สุด ส่วนพื้นที่ตอนกลางและตอนปลายของแม่น้ำแยงซีจะมีฝนตกหนักตลอดทั้งเดือน ซึ่งฝนอาจจะไม่หนักเท่าไร แต่จะตกโดยไม่ขาดสายจนไม่มีแดด มีความชื้นมาก ส่วนที่ภาคตะวันตกของจีน มีจะเริ่มลูกเห็บในช่วงนี้ ในแต่ละวันที่ไม่มีฝน อุณหภูมิในพื้นที่ต่าง ๆ ของจีนก็สูงขึ้น โดยเฉพาะในภาคกลางและภาคเหนือของจีน อาจจะสูงกว่า 40 องศา ในสมัยก่อนของจีน ในช่วงฤดูกาลหมางจ้ง ชาวจีนก็นิยมประกอบพิธีการต่าง ๆ เช่น บูชาเทพเจ้าดอกไม้ เมื่อย่างเข้าเดือนมิถุนายนแล้ว ดอกไม้นานาพันธ์ที่ออกดอกในฤดูใบไม้ผลิก็จะเริ่มเหี่ยว ชาวจีนในสมัยก่อนจึงจัดพิธีบูชาเทพเจ้าดอกไม้เพื่อให้คุ้มครองให้ปีหน้าจะได้พบกับดอกไม้สวยงามอีก แต่ประเพณีดังกล่าวไม่มีในสมัยปัจจุบัน