ร้านต่อมาที่ผมจะพาไปรู้จักชื่อร้านสติ หรือ “ชาถี” ครับ เจ้าของร้านบอกว่าที่ตั้งชื่อร้านเป็นชื่อนี้ก็เพราะตอนที่ตั้งร้านปีที่แล้ว เป็นครั้งแรกที่เธอเริ่มทำธุรกิจของตัวเอง ซึ่งก็ต้องเจอกับความท้าทาย
ปัจจุบันมีคนไทยจำนวนไม่น้อยที่ติดตามข่าวสารบ้านเมืองจีน และผมก็เชื่อว่าส่วนหนึ่งมีความคิดจะนำสินค้าบริการเข้ามาทำตลาดที่นี่ จากสัปดาห์ที่แล้วที่ได้มีโอกาสเข้าพบ ฯพณฯ พิริยะ เข็มพล เอกอัคราชทูตไทยประจำกรุงปักกิ่งระหว่างเข้าร่วมงานเทศกาลไทย “สยามเมืองยิ้ม ชิมไปยิ้มไป” ที่ได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและการบินไทย ผมจึงไม่พลาดที่จะสัมภาษณ์ประเด็นนี้มาฝากคุณผู้อ่านกันครับว่าในบทบาทของสถานทูตเองสามารถสนับสนุนผู้ประกอบการไทยเข้ามาทำตลาดในจีนได้อย่างไรบ้าง
เมื่อเร็ว ๆ นี้ผมได้รับเชิญให้เข้าไปสื่อข่าวงานเทศกาลไทย “สยามเมืองยิ้ม ชิมไปยิ้มไป” ที่สถานเอกอัคราชทูตไทย ณ กรุงปักกิ่งมาครับ งานนี้พิเศษตรงที่ ฯพณฯ พิริยะ เข็มพล เอกอัคราชทูตไทยประจำกรุงปักกิ่งเปิดบ้านจัดงานต้อนรับทั้งเหล่าทูตานุทูต แขกผู้มีเกียรติและสื่อมวลชนร่วมงานอย่างอบอุ่น
การหันมาใช้ระบบออนไลน์ชำระค่าสินค้าบริการเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้ทุกวันนี้เมืองหลวงของจีนอย่างกรุงปักกิ่งกลายมาเป็นผู้นำเมืองสังคมไร้เงินสดของจีนได้อย่างไม่ต้องสงสัย มองอีกนัยก็หมายความว่าประชาชนกว่า 21 ล้านคนที่กำลังอาศัยอยู่ในมหานครแห่งนี้มีส่วนสำคัญที่ขับเคลื่อนให้เกิดสังคมไร้เงินสดไม่น้อยไปกว่าการผลักดันของภาครัฐและเอกชน กรุงปักกิ่งได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน Smartest city ร่วมกับเสินเจิ้น กวางโจว และเซี่ยงไฮ้ นับตั้งแต่ที่ภาคธุรกิจได้นำระบบออนไลน์เข้ามาใช้ในทำธุรกรรมทางการเงินครับ ที่ได้ชื่อนี้มาก็ไม่ใช่ให้ไก่กาที่ไหนมาตั้งให้ แต่เป็นผลจากการร่วมแรงศึกษาวิจัยโดยมหาวิทยาลัยและหน่วยงานภาคเอกชนหลาย ๆ โพลรวมกัน อย่างเช่นของมหาวิทยาลัยเหรินหมิน LPSOS และเท็นเซนต์ ที่เขาได้ไปสอบถามผู้อยู่อาศัยถึง 6500 คนใน 324 เมืองในจีนเพื่อจัดอันดับว่าเมืองไหนเข้าใกล้คำว่าสังคมไร้เงินสดมากที่สุด ซึ่งปักกิ่งก็ยังคงขึ้นแท่นเป็นอันดับต้น ๆ เช่นเดิม ไม่ว่าจะซื้อตั๋วหนังยันตั๋วเข้าวังต้องห้าม แค่มีมือถือสักเครื่องก็มากเกินพอแล้ว
สำหรับพิพิธภัณฑ์ทหารจีนแห่งนี้เริ่มเปิดให้คนทั่วไปเข้าชมเป็นทางการในเดือนสิงหาคม ปี 1960 ครับ ทุก ๆ ปีสถานที่เก็บรวบรวมประวัติศาสตร์ทหารของแผ่นดินนี้ได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกมุมโลกเข้ามาชมแสนยานุภาพปีปีนึงไม่ต่ำกว่า 2 ล้านคน การเดินทางมาก็ง่ายแสนง่ายเพียงแค่ออกจากรถไฟใต้ดินสาย 1 หรือ สาย 9 สถานี Military Museum หรือจะนั่งรถเมล์สาย 1,21,57,65,320,337,802 ก็ถึงแล้ว
ใครก็ตามที่มีโอกาสมาเที่ยว เรียน หรือใช้ชีวิตในจีนโดยเฉพาะตามหัวเมืองใหญ่ ๆ ก็จะเห็นว่าคนจีนทุกวันนี้ไม่ถือเงินสดกันแล้ว Wechat Pay และ Alipay กลายมาเป็นวิธีการจ่ายเงินปกติของผู้คนที่นี่ ไม่ว่าจะค่าผ่าตัดรักษาโรคในโรงพยาบาลไปจนถึงซื้อองุ่นข้างทางสัก 3 ขีด เพียงแค่สแกนคิวอาร์โค้ด ทุกอย่างก็เรียบร้อยโรงเรียนจีน หมดปัญหาแบงค์ปลอม หมดปัญหาทอนเงินไม่ครบ
บทได้ย้ายถิ่นฐานไปอยู่ต่างประเทศ มันจะมีอยู่อย่างหนึ่งครับที่ถึงแม้จะพยายามแค่ไหน เราก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงใช้บริการงานฝีมือจากคนในบ้านเขาได้ ซึ่งนั่นก็คือ “การตัดผม” ครับ
ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ผมกำลังไถ ๆ ไอแพดเพื่อตามข่าวสารในเฟซบุ๊กก็ไปสะดุดเจอโพสต์ของนักวิจัย SIU ท่านหนึ่ง พูดถึงเรื่อง “ยักษ์ใหญ่วงการรีเทลไทย” ที่ไม่มีทางทำอี-คอมเมิร์สได้สำเร็จ โพสต์นี้ทำให้ผมกลับไปนึกถึงตัวเองที่เคยทดลองใช้บริการลาซาด้า เพื่อสั่งซื้อกระบอกน้ำสูญญากาศไว้ตุ๋นสมุนไพรลดไขมันในเส้นเลือดให้แม่เวลาไปเที่ยวต่างประเทศ ผมไม่แน่ใจว่าท่านอื่น ๆ จะมีประสบการณ์อย่างไรกับเจ้าที่ผมใช้บริการนี้หรือไม่ ไม่แน่ใจว่าการบริการก่อนและหลังจาก แจ๊ค หม่า เข้ามาซื้อหุ้นเกินกึ่งหนึ่งเมื่อช่วงเดือนเมษายนปีที่แล้วจะทำให้เขาเอาแม่แบบการขนสงที่ได้มาตรฐานในจีนมาปรับใช้ในบ้านเราให้ดีขึ้นหรือเปล่า แต่โดยส่วนตัว (ในฐานะผู้ที่ไม่ได้เงินสนับสนุนใด ๆ) รู้สึกประทับใจกับความเอาใจใส่ของเจ้านี้มาก ๆ ครับ
ระบบ NFC หรือ Near Field Communication ที่ติดอยู่กับมือถือรุ่นใหม่ ๆ ที่เริ่มวางจำหน่ายตั้งแต่ต้นปี 2016 ขึ้นไป ได้ถูกนำมาใช้ทดลองจ่ายค่าโดยสารรถไฟใต้ดินกรุงปักกิ่งเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา แต่ก็ใช่ว่ามือถือที่มีชิพ NFC ทุกเครื่องจะสามารถแตะผ่านประตูได้เลยนะครับ จากที่ผมตาม ๆ อ่านข้อมูลมา ก็จะมีแค่แบรนด์ในประเทศอย่าง “เสียวหมี่” กับ “หัวเหวย” เท่านั้นที่ได้ทำความตกลงกับทางเทศบาลกรุงปักกิ่ง
ผมกลับมาตาม ๆ เรื่องสตาร์ทอัพจักรยานเช่าในจีนอีกครั้งหลังเขียนเรื่องเกี่ยวกับมันไปแค่ไม่ถึง 2 เดือนที่แล้ว เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นมากมายในวงการนี้ครับ บ้างสายป่านสั้นก็ถอยตัวไป ส่วนเจ้าไหนที่ออกตัวช้าก็ต้องหากลยุทธ์ใหม่ ๆ มามัดใจผู้บริโภค จนล่าสุดกับข่าวที่ผมไปเจอมาที่เขียนโดยคุณ Tashae พูดถึงการเช่าจักรยานที่ไม่ได้หยุดอยู่ที่แค่ได้เช่าจักรยานอีกต่อไป Tuhao Gold จากบริษัทสตาร์ทอัพ Cool Qi Bike คือเจ้าที่เข้ามาทำสงครามส่วนแบ่งการตลาดล่าสุดครับ แน่นอนว่ายิ่งมาทีหลังก็ต้องยิ่งทำการบ้านให้หนักกว่าคนอื่น เจ้านี้เขาเน้นเรื่องความมลังเมลือง เริ่มตั้งแต่ชื่อบริษัทที่ก็ตั้งให้ล้อกับตราสินค้าชื่อดังระดับโลกอย่าง “กุชชี่” ที่จะได้ไปลิงก์กับสีของตัวสินค้าตามภาพ
กระแสความนิยมเก็บสะสมเฟอร์นิเจอร์จีน โดยเฉพาะช่วงราชวงศ์หมิง และราชวงศ์ชิง นับได้ว่าเป็นกระแสนิยมหลักของนักสะสมชาวจีนในยุคปัจจุบันเลยก็ว่าได้นะครับ ด้วยความต้องการที่จะนำหน้าประวัติศาสตร์ของจีนเหล่านี้ “กลับบ้าน” เฟอร์นิเจอร์เหล่านี้จึงทวีค่ามากยิ่งกว่างานศิลปวัตถุ และโบราณวัตถุ ไปสู่การหวนระลึกสู่ความยิ่งใหญ่ของวัฒนธรรมจีนในอดีต แต่สงสัยไหมครับว่าแล้วทำไมประเทศไทยจึงกลายเป็น “ตลาด” ของเฟอร์นิเจอร์จีน ที่ลูกหลานแดนมังกรต่างมุ่งหน้ามาเยือนเป็นอันดับต้นๆ กาสะลองส่องจีนสัปดาห์นี้น่าจะมีคำตอบให้ได้ครับ