ผลสำเร็จจีนในการสร้างประชาคมมนุษย์กับสิ่งมีชีวิตในธรรมชาติ (3)
โลกที่สะอาดสวยงามเป็นรากฐานอันแข็งแกร่งในการร่วมสร้างประชาคมของสิ่งมีชีวิตบนโลก ทั้งยังเป็นความปรารถนาร่วมกันของประชาชนทุกประเทศด้วย ปัจจุบันสถานการณ์โควิด-19 ยังคงแผ่ปกคลุมการพัฒนาโลก ความหลากหลายทางชีวภาพกำลังสูญเสียไปในอัตราที่รวดเร็วอย่างไม่เคยมีมาก่อน ความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่อาจมองข้ามได้
ปี 2021 บนหลายเวทีระดับโลก นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน เรียกร้องให้ทุกประเทศเพิ่ม “ความร่วมมือสีเขียว” เดินหน้า “การพัฒนาสีเขียว” หนุน “การฟื้นตัวสีเขียว” สร้างการมีส่วนร่วมที่มีค่ามากสุดในการสร้างบ้านเรือนอันสวยงามที่สรรพสิ่งอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืน เสนอแบบแผนจีนในการรับมือความท้าทายจากสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม อัดฉีดความเชื่อมั่นและแรงขับเคลื่อนเพื่อเดินหน้าสร้างสรรค์อารยธรรมระบบนิเวศของโลก
แนวคิดที่มีหลักวิทยาศาสตร์ชี้นําการปฏิบัติ ให้การพัฒนาสีเขียวสร้างความสุขแก่ประชาชน
ทางรถไฟจีน-ลาวที่เพิ่งเปิดเดินรถไม่นานถือเป็นเส้นทางแห่งมิตรภาพระหว่างจีนกับลาว ทั้งยังเป็นเส้นทางสีเขียวทางนิเวศวิทยาด้วย โครงการประสบความสําเร็จในการหลบเลี่ยงพื้นที่หลักของเขตอนุรักษ์ธรรมชาติประเภทต่างๆ และจุดที่มีความละเอียดอ่อนในการรักษาสิ่งแวดล้อม และได้ทำช่องทางพิเศษสำหรับการย้ายถิ่นของสัตว์และรั้วป้องกันสัตว์ เพื่อปกป้องช้างเอเชีย ป่าฝนเขตร้อนและทรัพยากรอื่น ๆ ตามแนวเส้นทางรถไฟสายนี้อย่างเต็มที่
สีเขียวกําลังกลายเป็นสีพื้นฐานอันโดดเด่นในการร่วมสร้าง "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" อย่างมีคุณภาพสูง ที่ประเทศบราซิล โครงการส่งไฟฟ้าที่บริษัทจีนดำเนินการนั้น ครอบคลุม 5 รัฐและ 81 เมือง เพื่อหลบเลี่ยงเขตอนุรักษ์ธรรมชาติ การเปลี่ยนแปลงสถานที่ตั้งหอไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวมีถึง 161 จุด ได้ฟื้นฟูสภาพสิ่งแวดล้อมด้วยพืช 1,100 เฮกตาร์
ในประเทศเอธิโอเปียดาวเทียมขนาดเล็กที่จีนช่วยเหลือช่วยให้หน่วยงานการเกษตรและป่าไม้ในท้องถิ่นสามารถเข้าถึงข้อมูลทางอุตุนิยมวิทยาและการชลประทาน ช่วยให้สามารถรับมือกับภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ในเขตซาเฮลของแอฟริกา แนวคิดและปัจจัยทางเทคนิคของจีนได้รับการหลอมรวมอย่างลึกซึ้งในการสร้างสรรค์โครงการ “กําแพงสีเขียว(Great Green Wall)” แห่งแอฟริกา โครงการสีเขียวครั้งแล้วครั้งเล่าได้ช่วยท้องถิ่นพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้สร้างคุณูปการที่เป็นรูปธรรมแก่การผลักดันการกํากับดูแลสิ่งแวดล้อมทั่วโลก
ปัจจุบัน จีนและ 28 ประเทศได้ร่วมริเริ่มโครงการความสัมพันธ์หุ้นส่วนด้านการพัฒนาสีเขียวแห่งหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง แนวร่วมระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาสีเขียวแห่งหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (International Coalition for Green Development on the Belt and Road) ครอบคลุมหุ้นส่วนทั้งจีนและต่างประเทศกว่า 150 รายจาก 40 กว่าประเทศ แพลตฟอร์มบริการข้อมูลขนาดใหญ่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางนิเวศวิทยาแห่งหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ได้รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความหลากหลายทางชีวภาพในกว่า 100 ประเทศ เจ้าหน้าที่สิ่งแวดล้อม นักวิจัย และช่างเทคนิคจำนวนกว่า 2,000 คนจาก 120 กว่าประเทศได้เข้าร่วมโครงการ “ทูตเส้นทางสายไหมสีเขียว”
จีนได้ดําเนินโครงการความร่วมมือใต้-ใต้แห่งหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง เพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ได้สร้างความสัมพันธ์หุ้นส่วนความร่วมมือด้านพลังงานแห่งหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ได้ทุ่มเทสนับสนุนการพัฒนาพลังงานสีเขียวและคาร์บอนต่ำในประเทศกําลังพัฒนา และได้ประกาศว่าจะไม่สร้างโครงการไฟฟ้าถ่านหินในต่างประเทศอีกต่อไป หัวหน้าคณะกรรมการการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของอังกฤษกล่าวว่า ประโยชน์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางสีเขียวนํามาสู่โลกนั้น คือความก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมและการลดลงของต้นทุนการผลิตพลังงานคาร์บอนต่ำ ซึ่งทั่วโลกล้วนได้รับประโยชน์
การสร้างประชาคมชีวิตมนุษย์กับธรรมชาตินั้น เป็นแนวคิดที่มีหลักวิทยาศาสตร์ชี้นำการปฏิบัติงานสร้างสรรค์อารยธรรมทางนิเวศวิทยา ซึ่งไม่ได้หมายความว่าต้องครอบครองวัตถุมีค่ามากกมาย แต่ดำเนินการเพื่อประวัติศาสตร์และชนรุ่นหลัง สิ่งเหล่านี้ล้วนต้องบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์นานหลายทศวรรษกระทั่งหลายร้อยปี ต้องมีความใจกว้างที่ว่า “ภารกิจจะสําเร็จหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง” ต้องรับผิดชอบต่อประวัติศาสตร์และรับผิดชอบต่อประเทศชาติอย่างแท้จริง จะทิ้งคําด่าไว้ในประวัติศาสตร์ไม่ได้
ผู้นําจีนชี้นำและขับเคลื่อนการสร้างสรรค์อารยธรรมนิเวศวิทยาด้วยวิสัยทัศน์เชิงประวัติศาสตร์ที่ลึกซึ้งและความรับผิดชอบที่แรงกล้า การเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ การคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางนิเวศวิทยาของจีนได้เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงประวัติศาสตร์ เชิงจุดเปลี่ยน และเชิงภาพรวม
สมาชิกคนหนึ่งของสภามนุษยศาสตร์แห่งชาติสหรัฐฯมองว่า การแสวงหาการพัฒนาต้องคำนึงถึงอนาคตและความผาสุกของประชาชนทั้งมวลในระยะยาว แต่ไม่ใช่เพื่อผลประโยชน์ชั่วขณะ " นั่นแหละคือความคิดของสี จิ้นผิงว่าด้วยอารยธรรมทางนิเวศวิทยา"
การสร้างประชาคมชีวิตมนุษย์กับธรรมชาตินั้น ความสามัคคีและร่วมมือเป็นสิ่งที่ขาดเสียมิได้ "ต้องร่วมมือกัน อย่ากล่าวหากัน ต้องใช้ความพยายามอย่างไม่ลดละ อย่าเปลี่ยนแปลงนโยบายตามอำเภอใจ ต้องให้ความสำคัญและรักษาคำมั่นสัญญา อย่าพูดแล้วไม่ปฏิบัติ"
จีนปฏิบัติตามแนวคิดพหุภาคีนิยมอย่างเด็ดเดี่ยวแน่วแน่ และมุ่งมั่นที่จะขับเคลื่อนการสร้างระบบการกํากับดูแลสิ่งแวดล้อมทั่วโลกที่เป็นธรรม สมเหตุสมผล ร่วมมือกันและได้ชนะชนะร่วมกัน จีนเรียกร้องว่าควรให้ความสำคัญอย่างเต็มที่กับความห่วงใยพิเศษและความยากลำบากพิเศษของประเทศกําลังพัฒนา ประเทศที่พัฒนาแล้วควรปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างให้มากในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และให้การสนับสนุนทางการเงิน เทคโนโลยีและการสร้างขีดความสามารถเป็นต้น แก่ประเทศกําลังพัฒนา
เอลิซาเบธ มารูมา เมรมา เลขานุการฝ่ายบริหารของสํานักเลขานุการประจำอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ (Convention on Biological Diversity) กล่าวว่า แนวคิดเกี่ยวกับอารยธรรมทางนิเวศวิทยาของจีนมีความสําคัญเป็นอย่างยิ่งต่อการบรรลุเป้าหมายความหลากหลายทางชีวภาพทั่วโลกของประเทศต่างๆ ในด้านการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาตินั้น ภาคปฏิบัติของจีนมีคุณค่าแก่การเรียนรู้สำหรับทุกประเทศ
เสียงของจีนกระตุ้นโลก การกระทําของจีนได้รับการชื่นชมอย่างกว้างขวาง การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเป็นภารกิจอันหนักหน่วงในระยะยาว ขอเพียงแต่ทุกประเทศคิดและทุ่มเทในทิศทางเดียวกัน ร่วมทุกข์ร่วมสุขและช่วยเหลือซึ่งกันและกันเท่านั้น มนุษยชาติย่อมสามารถรับมือกับความท้าทายจากสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมโลกอย่างถูกหลักวิทยาศาสตร์ได้อย่างแน่นอน และพยายามสืบทอดโลกที่สะอาดและสวยงามแก่ชนรุ่นหลังให้ได้
YIM/LU