รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม : ไม่ใช่คุยกับอาเซียนเพื่อใช้อาเซียนไปทำอะไรกับบุคคลที่ 3
การประชุมสุดยอดระหว่างผู้นำอาเซียนกับผู้นำสหรัฐฯ ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ซึ่งจัดขึ้นเมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมาได้รับการจับตามองจากทั่วโลก โอกาสนี้ รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม ในฐานะผู้เชี่ยวชาญการต่างประเทศได้ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเกี่ยวกับมุมมองในด้านต่างๆที่มีต่อการประชุมสุดยอดอาเซียนกับผู้นำสหรัฐฯครั้งนี้
ผู้สื่อข่าว : เรื่องการประชุมสุดยอดอาเซียนกับสหรัฐครั้งนี้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ ถูกจับตามองมากเป็นพิเศษ อาจารย์คิดว่าในการประชุมสุดยอดครั้งนี้ ประเด็นไหนน่าจะได้รับความสนใจมากที่สุด?
รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม : ผมคิดว่าประเด็นที่น่าสนใจมากที่สุดก็แน่นอนเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างอาเซียนกับสหรัฐฯ เพราะว่านี่คือการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนกับสหรัฐฯ เราเองก็คงจะต้องไปโฟกัสเรื่องนี้โดยพยายามดึงไม่ให้สหรัฐไปพูดเรื่องอื่นๆ กดดันอาเซียน เพื่อไปกดดันยูเครน- รัสเซีย เพื่อให้สหรัฐฯ ดึงอาเซียนไป ปิดล้อมจีน อย่างนี้คือสิ่งที่ผู้นำอาเซียนคงจะต้องมีจุดยืนแล้วว่า คุณคุยกับผมคุณคุยเรื่องของเราสองคน คุณอย่าไปคุยเรื่องของคนอื่น ตรงนี้น่าจะเป็นจุดที่สำคัญที่สุดของผู้นำ
ผู้สื่อข่าว : อาจารย์เชื่อว่าอเมริกาต้องการที่จะผลักดันเรื่องนี้อยู่แล้วใช่ไหมครับ?
รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม : อันนี้แน่นอนอยู่แล้ว เพราะว่าเป็นเป้าประสงค์ทางยุทธศาสตร์สำคัญของอเมริการะยะยาว ซึ่งเขาก็เผยแพร่มาตั้งแต่ปี 2017 ภายใต้สิ่งที่เรียกว่า National Security strategy เพราะฉะนั้นยุทธศาสตร์ภาคระยะยาวทางด้านความมั่นคงก็จะกำหนดนโยบายของประธานาธิบดีว่า ใครจะ approach ยุทธศาสตร์เป้าหมายนี้ อย่างไรบ้าง ปธน.โจ ไบเดนก็มีวิธีการของเขา ซึ่งหนึ่งในนั้นที่โจ ไบเดนจะคุยด้วย คือ Indo-Pacific Economic Framework (กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด - แปซิฟิก) ในการที่ใช้กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ เพื่อสร้างพันธมิตรในการปิดล้อมจำกัดเขตอิทธิพลของจีน เพราะฉะนั้นเราเองก็จะต้องรอบครอบ แล้วก็ระมัดระวังในการดำเนินนโยบายว่า ถ้าคุณจะคุยประเด็นเศรษฐกิจกับผม ก็เป็นเรื่องระหว่างความร่วมมือทางเศรษฐกิจของอาเซียนกับสหรัฐฯ ไม่ใช่คุยกับอาเซียนเพื่อใช้อาเซียนไปทำอะไรกับบุคคลที่ 3 ตรงนี้ผมคิดว่าผู้นำอาเซียน แล้วก็ทีมจากของผู้นำอาเซียนทุกประเทศไม่ได้โง่ เพราะฉะนั้นเขาก็รู้เท่าทัน
ผู้สื่อข่าว : น่าสนใจครับแม้แต่กัมพูชาในฐานะประธานอาเซียน ณ ขณะนี้พยายามบอกโจ ไบเดนนะครับว่า พูดเรื่องเศรษฐกิจดีกว่าไหม พูดเรื่อง Post-covid ดีกว่าไหม จะไปพัฒนาเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไรดีกว่า?
รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม : ถูกต้องครับ ก็อย่างที่บอกครับก็คุยเรื่องที่เราจะคุยกัน เราก็ไม่ไปคุยเรื่องคนอื่น เพราะมันเสียมารยาท เช่นเดียวกันครับ เราก็คงต้องยืนยันจุดยืนนี้กับสหรัฐฯ แล้วถามว่าอาเซียนมีอำนาจที่จะต่อรองเพียงพอที่จะคุยกับสหรัฐฯ ในลักษณะแบบนี้ด้วยหรอ คำตอบก็คือมีพอเพียงครับ เรื่องหนึ่งที่สหรัฐต้องการมากเลยก็คือ ต้องการจะยกระดับความสัมพันธ์ของตัวเองกับอาเซียนให้อยู่ในระดับเดียวกันกับจีน ญี่ปุ่น ก็คือเป็น Comprehensive Strategic Partnership (หุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน) สหรัฐฯ ขออาเซียนบอกได้ แต่เขียนใบสมัครเสร็จขอให้ไปผ่านกระบวนการ Assessment Process ให้ไปประเมินตามขั้นตอนก่อน แล้วถ้าขั้นตอนครบ คุณสมบัติครบ เราถึงจะให้สถานะนั้นกับคุณ ไม่ใช่ว่าเขาขอปุ๊บเราก็ให้เพราะอาเซียนไม่ใช่ Lapdog (สุนัขเลี้ยง) ของใคร อาเซียนไม่ใช่ Lapdog ของทั้งสหรัฐฯ และ Lapdog ของจีน
ผู้สื่อข่าว : ในส่วนของไทย เราควรจะพูดอะไรกับสหรัฐอเมริกา?
รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม : ผมคิดว่า 3 ผู้นำอาเซียนเนี่ย น่าจะมองไปในทิศทางเดียวกัน คือเรื่องของปลายปีนี้ ในเดือนพฤศจิกายน จะมีการประชุมที่ต่อเนื่องกันเลยครับ ตั้งแต่ East Asia Summit ที่กัมพูชาเป็นเจ้าภาพของอาเซียน 10 ประเทศ รวมกับจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ รัสเซีย แคนาดา อเมริกา และสหภาพยุโรป ต่อด้วยอินโดนีเซีย อินโดนีเซียก็จะเป็นเจ้าภาพ G20 และประเทศไทยก็จะเป็นเจ้าภาพการประชุมเอเปค ซึ่งข้อดีอย่างหนึ่งเที่ยวนี้ปี 2022 จะต่อด้วยการประชุมเอเปคปี 2023 ที่สหรัฐอเมริกาเป็นเจ้าภาพ ดังนั้นในปีนี้เราเป็นประธาน สหรัฐจะเป็นรองประธาน เพราะฉะนั้นสหรัฐฯ ก็จะเดินทางมาแน่ๆ ในเอเปค ดังนั้นถ้าสามารถที่จะคุยดันเรื่องนี้แล้วกำหนด Agenda ได้ ว่าเดี๋ยวไปคุยกันในวง Dinner คุยกันเรื่องนี้ต่อนะ เพราะเป็นการประชุมที่อย่างน้อยที่สุด 3 ประเทศก็ไปในทิศทางเดียวกันแล้ว และเราอยากจะผลักดันเรื่องอะไร แต่เรื่องหนึ่งที่ประเทศไทยเราผลักดัน แล้วก็สอดคล้องกับแนวทางการดำเนินนโยบายของประเทศอื่นๆ ด้วย นั่นก็คือเรื่อง Model เศรษฐกิจ BCG Bio Economy
ผู้สื่อข่าว : มีคนมองเรื่องของการพยายามของอเมริกา อาจจะพยายามที่จะ lobby ไม่ว่าเอเปคก็ตาม G20 ก็ตาม กีดกันรัสเซียออกไป อาจารย์คิดว่ามันเป็นมุมมองที่ผิวเผินเกินไปหรือเปล่า?
รศ.ดร.ปิติ ศรีแสงนาม : ผมเองก็มีความคิดว่าเราก็มีการประชุมล่วงหน้า ทั้งอินโดนีเซีย ไทย และกัมพูชา แล้วเราตกลงว่าเราจะเชิญรัสเซีย เราเชิญรัสเซียแน่นอนเพราะว่าเขาเป็นสมาชิก และกรอบความร่วมมือที่เราคุยกันนี้อย่าง APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในเอเชียแปซิฟิก) มันคุยความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ เพราะฉะนั้นเรื่องการปฏิบัติการทางการทหาร เรื่องสงคราม มันไม่เกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจมันเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคง อยู่ที่ประเทศอื่นๆ