แรงงานจีนเอาชนะโรคระบาด พร้อมติดปีกให้ประเทศไทย
ประเทศไทยเป็นที่ตั้งศูนย์กลางของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และยังเป็นเส้นทางที่สำคัญของ “โครงการหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง” ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศไทยกับโครงการหนนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทางของจีนกำลังเชื่อมโยงกันอย่างลึกซึ้ง ความร่วมมือระหว่างไทยและจีนในการเชื่อมต่อโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานมีความก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง สนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ กรุงเทพฯ เป็นศูนย์กลางการบินที่สำคัญในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของกรุงเทพฯและทั่วประเทศไทย สนามบินเปรียบเสมือนปีกของเมืองๆหนึ่ง อาคารผู้โดยสารแห่งใหม่ของสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิที่สร้างโดย บริษัทชาวจีน คือ "ปีกใหม่" ของกรุงเทพฯ "เมืองแห่งสวรรค์"
เดือนสิงหาคม 2560 บริษัท ไชน่าคอนสตรัคชั่นกรุ๊ป จำกัด (ต่อไปนี้เรียกว่า "CSCEC") เป็นผู้ชนะการประมูลโครงการอาคารผู้โดยสารแห่งใหม่ของสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ กรุงเทพฯประเทศไทย นี่เป็นโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญสำหรับการดำรงชีวิตของประชาชนของรัฐบาลไทยซึ่งมีมูลค่าสูง โดยรัฐบาลไทยให้ความสำคัญอย่างมากและเป็นที่สนใจของประชาชนในสังคมอย่างกว้างขวาง ในขณะเดียวกันก็เป็นโครงการที่ใหญ่ที่สุดที่ดำเนินการโดยวิสาหกิจจีนในประเทศไทย และเป็นการสร้างมาตรฐานภาพลักษณ์ที่ดีในด้านการก่อสร้างของจีน สำหรับโครงการหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง
ในช่วงต้นปี 2563 โรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อทุกกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศไทย โครงการอาคารผู้โดยสารแห่งใหม่ได้รับการทดสอบอย่างเข้มงวด CSCEC ปฏิบัติตามข้อกำหนดการป้องกันการแพร่ระบาดของรัฐบาลไทยอย่างเคร่งครัดเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีข้อผิดพลาดในการป้องกันและไม่กระทบต่อการทำงาน เซิ่น หมิงหัว ผู้จัดการโครงการกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า ในช่วงกลางเดือนมีนาคมเป็นช่วงที่สถานการณ์การแพร่ระบาดในประเทศไทยร้ายแรงที่สุด มีคนทำงานในพื้นที่มากกว่า 1,000 คน ไม่มีใครติดเชื้อและโครงการไม่เคยหยุดปฏิบัติงาน "หลังจากการระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อโครงการอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานต่างด้าว เนื่องจากการแพร่ระบาดพรมแดนถูกปิด (ไม่สามารถเข้าได้) ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากต่อความก้าวหน้าโดยรวม เพื่อให้โครงการสำเร็จลุล่วงด้วยคุณภาพและปริมาณ พวกเราทำงานอยู่ในแนวหน้าเสมอ แม้ในช่วงเทศกาลตรุษจีน พวกเราก็ยืนหยัดที่จะปฏิบัติต่อไป