ศาลเจ้า “อีเซิ่งฉือ” กับตำนาน “จาง จ้งจิ่ง” (2)
วันที่12พฤษภาคมเป็นวันพยาบาลสากล(International Nurses' Day)ในวันพยาบาลสากลเมื่อปีที่แล้วปี2021ปธน.สีจิ้นผิงของจีนลงพื้นที่ศาลเจ้า“อีเซิ่งฉือ”หรือ“ศาลเจ้าแพทย์ขั้นเทพ”ซึ่งบูชา“จางจ้งจิ่ง”(张仲景)“แพทย์ขั้นเทพ”ที่เมืองหนานหยางมณฑลเหอหนาน
เมืองหนานหยางมณฑลเหอหนานมีประวัติกว่า2,700ปีเป็นเมืองที่เข้มข้นด้วยวัฒนธรรมสมัยราชวงศ์ฮั่น(202ปีก่อนคริสตกาล-ค.ศ.220)เป็นบ้านเกิดของบุคคลที่มีชื่อเสียงสมัยโบราณกว่า800คนหนึ่งในนั้นก็คือจางจ้งจิ่งซึ่งเป็นขุนนางและแพทย์ที่มีชื่อเสียงจนได้สมญาว่า“อีเซิ่ง”(医圣, god-man of medical)แปลว่า“แพทย์ขั้นเทพ”
ที่เมืองหนานหยาง บ้านเกิดของ จาง จ้งจิ่ง จึงมีศาลเจ้า “อีเซิ่งฉือ” หรือ “ศาลเจ้าแพทย์ขั้นเทพ” เพื่อบูชาจาง จ้งจิ่ง
จาง จ้งจิ่งเกิดราวปี ค.ศ.150 สมัยราชวงศ์ฮั่น (เป็นตระกูลเตีย แซ่เตีย) เสียชีวิตราวปี ค.ศ.219 ก่อนสมัยสามก๊ก เขาเป็นชาวอำเภอหนานหยาง ในวัยเยาว์ เขาหมั่นศึกษาหาความรู้และอ่านหนังสือมาก มีความสนใจด้านแพทยศาสตร์เป็นพิเศษ ได้แรงบันดาลใจจากแพทย์ที่มีชื่อเสียงสมัยโบราณ และเป็นศิษย์ของแพทย์ที่มีชื่อเสียงในท้องถิ่น
ช่วงระหว่างปีค.ศ.196-204 เกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ต่อเนื่องกันที่อำเภอหนานหยาง ทำให้ชาวบ้านล้มตายไปจำนวนมาก ตระกูลจาง (ตระกูลเตีย, แซ่เตีย) ของจาง จ้งจิ่งแต่เดิมเป็นตระกูลใหญ่ มีประชากรกว่า 200 คน ในช่วงไม่กี่ปีมีผู้เสียชีวิตจากโรคระบาดไป 2 ใน 3 ในจำนวนดังกล่าว เป็นผู้ที่เสียชีวิตจากไข้ตัวร้อนร้อยละ 70
เมื่อเห็นญาติมิตรตระกูลเดียวกันเสียชีวิตไปมากมายเช่นนี้จางจ้งจิ่งรู้สึกเจ็บปวดมากและอยากช่วยบรรทาความเดือดร้อนของชาวบ้านจึงลาออกจากการเป็นขุนนางและหันมาประกอบอาชีพหมอศึกษาต้นเหตุและวิธีการรักษาไข้ตัวร้อนอย่างจริงจังเพื่อเอาชนะโรคระบาดเขาอ่านตำราแพทยศาสตร์รุ่นก่อนรวบรวมสูตรยาและวิธีการรักษาพื้นบ้านด้านหนึ่งรักษาผู้ป่วยด้านหนึ่งเริ่มเขียนหนังสือซึ่งเขียนมาหลายปีจนได้เขียนเรื่อง“ซางหานจ๋าปิ้งลุ่น”(《伤寒杂病论》,Treatise on Cold Pathogenic and Miscellaneous Diseases )แปลว่า“ทฤษฎีว่าด้วยไข้ตัวร้อนและโรคเบ็ดเสร็จ”สำเร็จในปีค.ศ.205ตอนนั้นเขาอายุราว55ปี
หนังสือ “ซางหานจ๋าปิ้งลุ่น” มีหลักการวินิฉัยโรควิพาษ วิธีการรักษา และสูตรยา ให้การรักษาโรคต่างๆ หลายสิบชนิด เป็นรากฐานของแพทย์แผนจีนที่แพทย์จีนทุกคนต้องศึกษาในช่วงกว่า 1,800 ปีที่ผ่านมา แพทย์ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า ผู้ใดที่ไม่รู้หนังสือเล่มนี้อย่างถ่องแท้จะเป็นแพทย์เป็นหมอไม่ได้เป็นอันขาด
หนังสือ“ซางหานจ๋าปิ้งลุ่น”เป็นผลงานชิ้นสำคัญที่กำหนดสถานภาพของจางจ้งจิ่งในประวัติศาสตร์แพทย์แผนจีนหลังจากจางจ้งจิ่งเสียชีวิตไปกว่าร้อยปีคือในรัชกาลเสียนเหอ(ค.ศ.326-334)ราชวงศ์ตงจิ้นมีการยกย่องจางจ้งจิ่งเป็น“อีเซิ่ง”(医圣, god-man of medical)แปลว่า“แพทย์ขั้นเทพ”
หนังสือ “ซางหานจ๋าปิ้งลุ่น” ยังเผยแพร่สู่ต่างประเทศ เช่นญี่ปุ่น เกาหลี เวียดนาม อินโดนีเซีย สิงคโปร์ มองโกเลีย ซึ่งกล่าวยกย่องหนังสือเล่มนี้เป็นอย่างสูง และจัดเป็นตำราคลาสสิกที่ต้องศึกษาเช่นกัน
ช่วงต้านโควิด-19นี้จีนให้เวชภัณฑ์แก่ต่างประเทศมากมายในจำนวนดังกล่าวเป็นยาจีน2ตัวได้แก่“เหลียนฮวาชิงเวิน”(连花清瘟)กับ“จินฮวาชิงก่าน”(金花清感)สูตรยา2ตัวดังกล่าวมาจากหนังสือ“ซางหานจ๋าปิ้งลุ่น”ของจางจ้งจิ่ง
ทุกวันนี้ ชาวหนานยางยังคงรำลึกและสำนึกบุญคุณของจาง จ้งจิ่ง เช่น มีการสร้างโรงพยาบาลจางจ้งจิ่งเมืองหนานหยางในปี 1947 มีการจัดงาน “สัปดาห์วัฒนธรรมจาง จ้งจิ่ง” ครั้งแรกเมืองหนานหยาง ที่ศาลเจ้า “อีเซิ่งฉือ” ระหว่างวันที่ 14-20 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โดยมีการประกอบพิธีเซ่นไหว้สุสานจาง จ้งจิ่ง ซึ่งตั้งอยู่ภายในศาลเจ้า “อีเซิ่งฉือ”ทั้งนี้มีวัตถุประสงค์รำลึก “จาง จ้งจิ่ง” แพทย์ขั้นเทพ เชิดชูแพทย์แผนจีนเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้นถ้วนหน้า และใช้ “แบรนด์เนมจางจ้งจิ่ง” พัฒนาเมืองหนานหยางให้เจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้น