ภาษา:ภาษาไทย

กรุงปักกิ่งในสายตาอดีตผอ.วังต้องห้ามกู้กงปักกิ่ง

criPublished: 2021-09-27 18:22:26
Share
Share this with Close
Messenger Pinterest LinkedIn

“ผมโตที่กรุงปักกิ่ง”

นายซั่น จี้เสียง อดีตผู้อำนวยการพิพิธภัณฑ์วังต้องห้ามกู้กง กรุงปักกิ่ง เคยเป็นเน็ตไอดอลที่หนุ่มสาวจีนชื่นชอบ เนื่องด้วยมีผลงานการปรับปรุงพัฒนาที่โดดเด่นมาก ซึ่งเมื่อวันที่ 26 กันยายนที่ผ่านมา นายซั่น จี้เสียง ได้กล่าวบรรยายพิเศษที่กรุงปักกิ่ง หัวข้อ “รักษารากและวิญญาณทางวัฒนธรรมของเมือง” โดยได้เล่ากรุงปักกิ่งในอดีตผ่านประสบการณ์ของตนว่า

“ค.ศ.1954 ผมอายุ 3 เดือนมาถึงกรุงปักกิ่งตามพ่อแม่ ผมไม่ค่อยมีภาพถ่ายตอนเด็ก แต่เท่าที่นึกย้อนดู สถานที่ที่คุณพ่อพาไป ส่วนใหญ่เป็นแหล่งมรดกโลก เช่น วังต้องห้ามกู้กง หอฟ้าเทียนถัน เป็นต้น”

ถึงแม้ว่าไม่ได้เกิดที่กรุงปักกิ่ง แต่ความทรงจำของนายซั่น จี้เสียง มีความผูกพันลึกซึ้งยิ่งกับเมืองแห่งนี้

“ผมยังจำได้ว่า ระหว่าง ค.ศ.1994-1997 ผมดำรงตำแหน่งเป็นอธิบดีกรมโบราณวัตถุกรุงปักกิ่ง ผมได้เห็นภาพที่ทำให้เสียใจมาก คือ พื้นที่ระหว่างคูเมืองและกำแพงวังต้องห้าม มีบ้านพักกว่า 400 แห่ง และที่ทำงานของรัฐวิสาหกิจ 21 แห่ง เดินทางไม่สะดวกยิ่ง สิ่งที่เลวร้ายกว่านี้คือ มีท่อระบายน้ำเสียถึง 465 ท่อ ปล่อยน้ำเสียปริมาณมากลงคูเมืองด้วยซ้ำ” นายซั่น จี้เสียงกล่าวว่า วัยรุ่นสมัยนี้อาจคิดสภาพในตอนนั้นไม่ได้เลย

ด้วยเหตุนี้ ระหว่างการทำงานที่กรมโบราณวัตถุกรุงปักกิ่ง นายซั่น จี้เสียง เคยจัดกิจกรรม “รักปักกิ่ง บริจาคอิฐกำแพงเมืองเก่า” เพื่อรวบรวมอิฐเก่าที่กระจายในภาคเอกชน และได้ผลที่คาดคิดไม่ถึง

“พวกเราไม่ได้คิดว่า ชาวเมืองปักกิ่งจะร่วมกิจกรรมนี้อย่างคึกคัก ชาวบ้านหลายคนบริจาคอิฐในห้องครัว บางคนถีบจักรยานขนอิฐที่มีน้ำหนักเกือบ 25 กิโลกรัม มาให้จากชานเมืองปักกิ่งที่ไกลมาก บางคนมาทั้งครอบครัวทั้งผู้สูงวัยและหลาน ตลอดทั้งฤดูหนาวนั้น สถานที่ก่อสร้างมีบรรยากาศอบอุ่นเป็นพิเศษ ชาวปักกิ่งได้บริจาคอิฐหลายแสนชิ้น แสดงให้เห็นว่า ชาวปักกิ่งรักกรุงปักกิ่งมาก”

“ภายหลัง ผมทำงานที่คณะกรรมการวางแผนกรุงปักกิ่ง ตอนนั้น พวกเรากังวลว่า จะมีสิ่งก่อสร้างขนาดใหญ่ใหม่ๆ เข้ามาบดบังทิวทัศน์พระราชวังต้องห้าม ซึ่งรู้สึกไม่ค่อยเหมาะสม ในที่สุดจึงตกลงที่จะให้ย้ายไปนอกวงแหวนที่ 4”

นายซั่น จี้เสียง กล่าวว่า “ขณะเดียวกัน ยังได้ตั้งเขตห้ามก่อสร้างอาคารสูงในแนวเส้นแกนกลางปักกิ่ง พระราชวังต้องห้าม และหอฟ้าเทียนถัน ด้วยเหตุนี้ จึงสามารถยื่นขอเป็นมรดกโลกได้ในวันนี้”

“ผมเริ่มทำงานที่พระราชวังต้องห้ามตั้งแต่ปี 2012 นานต่อเนื่องเป็นเวลา 7 ปี 3 เดือน ตอนนั้นผมปรารถนาที่จะคืนชีพวังต้องห้ามให้สังคมและประชาชน”

“วันที่ 8 ธันวาคมปีที่แล้ว เป็นวันเกิด 600 ปีของพระราชวังต้องห้าม วันนั้นพวกเราภูมิใจมาก ต่างรู้สึกว่า รุ่นของพวกเราได้บรรลุเป้าหมาย ‘มอบวังต้องห้ามที่งดงามยิ่งใหญ่ให้กับ 600 ปีถัดไป’ ”

ขณะเดียวกัน นายซั่น จี้เสียง เน้นว่า นอกจากอนุรักษ์ประวัติเก่าแก่แล้ว พวกเรายังต้องให้ความสำคัญกับความทรงจำสมัยใหม่และร่วมสมัยของตัวเมืองด้วย

Yim/Ldan

Share this story on

Messenger Pinterest LinkedIn