ไทยจะพัฒนาต่อยอด BRI Belt and Road Initiative (BRI) อย่างไร
ประเทศไทยเป็นทั้งประเทศสำคัญตามแถบเศรษฐกิจเส้นทางสายไหม และตามเส้นทางสายไหมทางทะเลด้วย ถ้ามาดูนโยบายของไทยเอง ก็มีแผนการพัฒนาเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ด้วยเช่นกันอย่าง EEC จะพัฒนาต่อยอดอย่างไร
แผน BRI เป็นโจทย์ใหญ่ ที่ท้าทายและไทยต้องศึกษาและเรียนรู้ อ.เสาวนีย์ เภรีฤกษ์ จาก krisdika.go.thได้เขียนบทความในช่วงหนึ่ง กล่าวถึง กรณีที่จะเห็นว่า ไทยก็มีการกำหนดแนวทางการพัฒนาขึ้น เพื่อการพัฒนาอุตสาหกรรมและการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาค 4 ตะวันออก (Thailand Eastern Economic Corridor : EEC ) รวมทั้งนโยบาย Thailand 4.0 เชื่อมต่อภายในประเทศและภูมิภาคมากขึ้นทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ และ สนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมและโลจิสติกส์ของเอเชียในอนาคต
มีทั้ง การก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางคู่ การก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์ 3 เส้นทาง การก่อสร้างท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 การก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง การก่อสร้างท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และการก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภาให้เป็น สนามบินเชิงพาณิชย์เพิ่มการเชื่อมต่อภายในประเทศ และภูมิภาคมากขึ้นทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ
ยังมีการสนับสนุนการเป็นศูนย์กลางการคมนาคมและโลจิสติกส์ของเอเชียในอนาคต ซึ่งประกอบด้วย การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางคู่ การก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์ 3 เส้นทาง การ ก่อสร้างท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 การก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง การก่อสร้างท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ และการ ก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินเชิงพาณิชย์
แต่ถ้ามาดูข้อมูลความร่วมมือ ทางการค้าจาก สำนักพัฒนาและส่งเสริมการวิจัย สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา
จะพบว่า ไทยก็มีความพยายามพัฒนา และตื่นตัวด้านเศราฐกิจในฐานะที่เป็นประเทศศูนย์กลางของอาเซียนตอนบนที่สามารถเชื่อมต ่อกับเส้นทาง BRI ได้ทั้งทางบกและทางทะเล ซึ่งถือเป็นเส้นทาง ยุทธศาสตร์สำคัญบนระเบียงเศรษฐกิจจีน-คาบสมุทร อินโดจีน (China-Indochina Peninsula Economic Corridor : CICPEC) ดังนั้น ก็อาจจะต้องการศึกษาวิเคราะห์โอกาสและผลกระทบจากข้อริเริ่ม BRI ให้รอบคอบ ทั้ง มิติด้านการค้าและการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผลกระทบและโอกาสต่อผู้ประกอบการธุรกิจขนาด กลางและขนาดย่อม