เศรษฐศาสตร์ที่ทำให้โลกนี้ดีงามยิ่งขึ้น—บทเรียนแก่โลกจากแนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจ (1)
"สังคมนิยมที่มีอัตลักษณ์จีนได้เข้าสู่ยุคใหม่ ความขัดแย้งหลักในสังคมของเราได้กลายเป็นความขัดแย้งระหว่างความต้องการชีวิตอันดีงามที่นับวันเพิ่มมากขึ้นของประชาชนกับการพัฒนาที่ไม่สมดุลและไม่เต็มที่"
จากความต้องการในชีวิตทางวัตถุและวัฒนธรรมไปจนถึงความต้องการในชีวิตที่ดีงาม แนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจได้พิจารณาความต้องการของประชาชนจากมุมมองที่กว้างยิ่งขึ้นและในระดับที่สูงยิ่งขึ้น ยืนหยัดแนวคิดการพัฒนาที่ถือประชาชนเป็นศูนย์กลาง เป็นที่สนใจในระดับสูงและเป็นประเด็นศึกษาค้นคว้าอย่างลึกซึ้งจากทั่วโลก
ควรตอบสนอง "ความต้องการของประชาชน" อย่างไร? ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจโลกกำลังเผชิญกับความท้าทายจากช่องว่างการพัฒนา ความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจน และความเสื่อมโทรมลงของสภาพแวดล้อม การชี้นำด้วยทฤษฎีเชิงนวัตกรรมและถูกหลักวิทยาศาสตร์ รวมถึงการแสวงหาเชิงปฏิบัตินั้นมีความสำคัญเป็นพิเศษ
“ต้องวางผลประโยชน์พื้นฐานของประชาชนส่วนใหญ่ไว้ในหัวใจโดยตลอด ยกระดับความสุขแห่งการดำรงชีวิตของประชาชนอย่างแน่วแน่ หลอมรวมการพัฒนาด้วยคุณภาพสูงกับการตอบสนองความต้องการชีวิตที่ดีงามของประชาชนเข้าด้วยกันอย่างใกล้ชิด ผลักดันการยืนหยัดการถือระบบนิเวศวิทยาเป็นสิ่งสำคัญอันดับต้นๆ การขับเคลื่อนการพัฒนาด้วยคุณภาพสูง และการสร้างชีวิตที่มีคุณภาพสูงให้หลอมรวมเข้าด้วยกันอย่างเหมาะสมลงตัวและเติมเต็มซึ่งกันและกัน”
สี จิ้นผิงเป็นผู้กำหนดแนวทางสำหรับพิมพ์เขียวการพัฒนา เขานำจีนทุ่มเทในการพัฒนาด้วยคุณภาพสูงและการสร้างสรรค์ระบบเศรษฐกิจที่ทันสมัย ในขณะเดียวกันที่ตอบสนองความต้องการชีวิตที่ดีงามของประชาชนนั้น ยังได้สร้างคุณูปการแก่การพัฒนาทั่วโลกด้วย