เศรษฐศาสตร์ที่เพิ่ม"ผลประโยชน์โลก"ด้วย"ผลงานจีน"—บทเรียนแก่โลกจากแนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจ (2)
ภายใต้การชี้นำของแนวคิดสี จิ้นผิงว่าด้วยเศรษฐกิจ จีนได้ร่วมมือกับหุ้นส่วนความร่วมมือเพื่อเขียนบทใหม่แห่งการพัฒนาด้วยนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง และได้อรรถาธิบายอย่างมีชีวิตชีวาถึงความหมายที่ลึกซึ้งในเรื่องการใช้แรงงานสร้างมูลค่า
จาก "ผลิตในจีน" ถึง "ประดิษฐ์ในจีน" จีนกำลังเร่งความเร็วบนหนทางสู่ห่วงโซ่อุตสาหกรรมและห่วงโซ่คุณค่าระดับกลางและสูง เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ปี 2022 "Hualong One " ซึ่งเป็นเทคโนโลยีพลังงานนิวเคลียร์รุ่นที่สามที่จีนเป็นเจ้าของสิทธิ์ในทรัพย์สินทางปัญญาอย่างสมบูรณ์ ได้ผ่านการตรวจสอบการออกแบบและการใช้งานจากประเทศอังกฤษ และจะนำไปใช้ในการก่อสร้างโครงการพลังงานนิวเคลียร์ของอังกฤษ ทั้งนี้จะมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อสหราชอาณาจักรในด้านการเติมเต็มช่องว่างพลังงานและสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจ
จาก "สินค้าจีน" ถึง "บริการจีน" ประเทศจีนเป็นผู้นำหน้าอย่างต่อเนื่องในการแข่งขันทางด้านการหลอมรวมเศรษฐกิจดิจิทัลกับเศรษฐกิจที่แท้จริง จากแอฟริกาที่อยู่ห่างไกลไปจนถึงประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รูปแบบธุรกิจใหม่ที่จีนบ่มเพาะขึ้นโดยพึ่งพาความได้เปรียบในด้านต่างๆ เช่น การประมวลผลแบบคลาวด์ อีคอมเมิร์ซ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางการเงิน เป็นต้น ซึ่งไม่เพียงแต่ได้ส่งเสริมการค้าสินค้าระหว่างฝ่ายต่างๆ เท่านั้น หากยังได้เสนอรูปแบบการพัฒนาที่สามารถดำเนินการได้ในปัจจุบันอีกด้วย
อาศัยการสนับสนุนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลที่เข้มแข็ง ความร่วมมือจีน-อาเซียนได้ขยายตัวอย่างต่อเนื่องไปยังด้านต่างๆ เช่น อีคอมเมิร์ซ เมืองอัจฉริยะ 5G ปัญญาประดิษฐ์ บิ๊กดาต้า บล็อคเชน การแพทย์ทางไกล และอื่นๆ การสร้างสรรค์ "เส้นทางสายไหมดิจิทัล" กำลังค่อยๆเข้าสู่สภาวะที่ดี