ภาษา:ภาษาไทย

บทวิเคราะห์ : ก้าวสู่อารยธรรมนิเวศวิทยา ร่วมกันสร้างสรรค์ประชาคมสิ่งมีชีวิตในโลก

criPublished: 2021-10-05 08:06:57
Share
Share this with Close
Messenger Pinterest LinkedIn

แพนด้าดำรงอยู่บนโลกอย่างน้อย 8 ล้านปีแล้ว โดยมีสมญานามว่า “ฟอสซิลที่มีชีวิต” ถือเป็นมรดกทางประวัติศาสตร์ธรรมชาติอันล้ำค่าของโลก โดยมีคุณค่ายิ่งต่อการวิจัยทางวิชาการ การดำรงอยู่และให้ความคุ้มครองแพนด้าจึงเป็นที่สนใจของชาวโลก

นอกจากนี้ แพนด้าเป็นสัตว์ที่มีชีวิตอยู่ในจีนประเทศเดียว ถือเป็นสมบัติล้ำค่าของจีน ซึ่งข้อมูลถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 2021 จีนมีแพนด้าป่าจำนวน 1,864 ตัว ระดับความรุนแรงต่อสถานภาพของแพนด้าได้ผ่อนคลายจากใกล้สูญพันธุ์มาเป็นเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์

ละมั่งทิเบตถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองระดับหนึ่งของจีน จีนได้ประกาศตั้งเขตคุ้มครองละมั่งทิเบตชื่อว่า เขตอนุรักษ์ธรรมชาติระดับชาติเขอเข่อซีหลี่ ค.ศ. 1997 เจ้าหน้าที่เขตอนุรักษ์ให้การคุ้มครองละมั่งทิเบตเหมือนกับเลี้ยงลูกของตน ช่วยให้จำนวนละมั่งทิเบตเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากไม่ถึง 20,000 ตัวมาเป็นกว่า 70,000 ตัวในปัจจุบัน ระดับความรุนแรงของสถานภาพละมั่งทิเบตได้เปลี่ยนจากระดับวิกฤตมาเป็นระดับปลอดภัยภายใต้แผนงานอนุรักษ์

นกช้อนหอยหงอนเป็นนกที่มีเฉพาะในเอเชียตะวันออก และมีสมญานามว่า “อัญมณีแห่งบูรพา” ด้วยความพยายามอย่างไม่ลดละมาเป็นเวลาหลายสิบปี จำนวนนกช้อนหอยหงอนในจีนได้เพิ่มจาก 7 ตัวเป็น 7,000 ตัวในปัจจุบัน การคุ้มครองนกช้อนหอยหงอนของจีนกลายเป็นตัวอย่างความสำเร็จของมนุษย์ในการช่วยชีวิตสัตว์ป่าที่ใกล้จะสูญพันธุ์

ด้านการปรับปรุงระบบนิเวศ บรรเทาภัยธรรมชาติ และรักษาพื้นที่การใช้ชีวิต จีนได้ดำเนินโครงการสร้างป่า “3 ภูมิภาคทางตอนเหนือ” ซึ่งเริ่มขึ้นตั้งแต่เมื่อปี 1978 และจะสร้างแล้วเสร็จในปี 2050 กินเวลาถึง 73 ปี ปัจจุบัน โครงการนี้ได้เข้าสู่ขั้นตอนสุดท้ายคือขั้นตอนที่ 3 แล้ว

首页上一页123全文 3 下一页

Share this story on

Messenger Pinterest LinkedIn