การประชุม COP15 เปิดบทใหม่แห่งการอนุรักษ์ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในโลก
ทั้งนี้ เหตุผลสำคัญประการหนึ่งที่จีนเลือกจัดประชุม COP15 ที่เมืองคุนหมิง มณฑลหยุนหนาน เพราะว่ามณฑลหยุนหนานมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ โดยเฉพาะมีความโดดเด่นยิ่งด้านความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต มณฑลหยุนหนานไม่เพียงแต่มีภูเขาลำน้ำมากมาย หากยังมีสัตว์ป่า พรรณพืชและจุลินทรีย์ป่าที่หายากและล้ำค่ามากมายด้วย
ชาวหยุนหนานได้สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างกลมกลืน มณฑลหยุนหนานจึงมีสมญาว่า “อาณาจักรพืช สัตว์ และสวนดอกไม้แห่งโลก”
ในฐานะเป็นประเทศกลุ่มแรกที่ได้ลงนามในสนธิสัญญาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต จีนทุ่มเทกำลังอย่างยิ่งในการสร้างสรรค์อารยธรรมทางนิเวศวิทยา โดยกำหนดเป้าหมายในปี 2020 ว่า จะปล่อยคาร์บอนให้ถึงจุดสูงสุดในปี 2030 และจะปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ในปี 2060
และในการประชุมของสมัชชาสหประชาชาติสมัยที่ 76 ที่จัดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ ผู้นำจีนก็ระบุว่า จีนจะสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาทำการพัฒนาพลังงานสะอาดเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนให้น้อยลง นอกจากนี้ จีนจะไม่พัฒนาโครงการกำเนิดไฟฟ้าด้วยถ่านหินในต่างประเทศอีก
นางหลี่ หลิน ผู้อํานวยการฝ่ายนโยบายและการสนับสนุนของมูลนิธิธรรมชาติโลกให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวว่า การประชุม COP15 ที่จะจัดขึ้นในเดือนตุลาคมปีนี้และครึ่งแรกของปี 2022 นั้น เป็นวาระสำคัญในการกำหนดนโยบาย เวลาเหลือไม่มากแล้วสำหรับการอนุรักษ์ระบบนิเวศของโลก
นางหลี่ หลิน ยังระบุด้วยว่า เป็นเรื่องน่าปิติยินดีที่จีนได้ใช้ปฏิบัติการภายในประเทศแล้ว การที่จีนให้ความสำคัญต่อแนวคิดอารยธรรมนิเวศวิทยาระหว่างการกำหนดนโยบายบ้านเมืองนั้น สอดคล้องกับแนวคิดที่มนุษย์กับธรรมชาติต้องอยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืน เกี่ยวพันถึงการแก้ไขวิกฤตทางธรรมชาติและสภาพภูมิอากาศ โลกในทุกวันนี้ต้องการพหุนิยมมากกว่ายามอื่นใดที่ผ่านมา