ภาษา:ภาษาไทย

บทวิเคราะห์ : การพัฒนาอุทยานแห่งชาติเป็นความพยายามล่าสุดของจีนในการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ

criPublished: 2021-10-18 10:15:51
Share
Share this with Close
Messenger Pinterest LinkedIn

เมื่อวันที่ 12 ตุลาคมที่ผ่านมา นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนกล่าวสุนทรพจน์สำคัญผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ขณะเข้าร่วมการประชุมสุดยอดของการประชุมสมัชชาภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพ สมัยที่ 15 ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองคุนหมิง มณฑลหยุนหนาน ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน โดยได้ประกาศอย่างเป็นทางการว่า จีนจัดตั้งกลุ่มอุทยานแห่งชาติรุ่นแรก

การพัฒนาอุทยานแห่งชาติเป็นการใช้ความพยายามครั้งล่าสุดของจีนในการส่งเสริมการอยู่ร่วมกันอย่างกลมกลืนระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติและบ่งชี้ว่า จีนกำลังเร่งสร้างระบบอนุรักษ์ธรรมชาติที่มีอุทยานแห่งชาติเป็นองค์ประกอบหลัก

กลุ่มอุทยานแห่งชาติรุ่นแรกของจีนมีพื้นที่รวม 230,000 ตารางกิโลเมตร ประกอบด้วยอุทยานแห่งชาติซานเจียงหยวน อุทยานแห่งชาติหมีแพนด้า อุทยานแห่งชาติเสือโคร่งและเสือดาวในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุทยานแห่งชาติป่าฝนเขตร้อนไหหลำ และอุทยานแห่งชาติอู่อี๋ซาน ได้ครอบคลุมเกือบ 30% ของพันธุ์สัตว์ป่าและพันธุ์พืชบนบกที่พบในจีน

อุทยานแห่งชาติดังกล่าวเหล่านี้ไม่ใช่สวนสาธารณะสำหรับการพักผ่อนหย่อนใจ แต่เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า จึงห้ามไม่ให้ดำเนินโครงการบุกเบิกพัฒนาขนาดใหญ่โดยมนุษย์ และต้องรับประกันความยั่งยืนของสัตว์ป่า

อุทยานแห่งชาติแต่ละแห่งมีบทบาททางนิเวศวิทยาโดยเฉพาะ เช่น อุทยานแห่งชาติซานเจียงหยวน มุ่งเน้นไปที่การอนุรักษ์ระบบนิเวศของที่ราบสูงชิงไห่-ทิเบต ในขณะที่อุทยานแห่งชาติในไหหลำและอู่อี๋ซานเน้นอนุรักษ์ป่าฝนเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ส่วนที่เหลืออีก 2 แห่งเน้นการอนุรักษ์สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ ได้แก่ หมีแพนด้า เสือโคร่งไซบีเรีย และเสือดาว อุทยานแห่งชาติเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ "ขีดเส้นสีแดง" ในการอนุรักษ์ระบบนิเวศและอยู่ภายใต้มาตรการอนุรักษ์ระบบนิเวศที่เข้มงวดที่สุดของจีน

12全文 2 下一页

Share this story on

Messenger Pinterest LinkedIn