บทวิเคราะห์ : จิตสำนึกอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ฝังลึกในใจของชาวบ้านลุ่มแม่น้ำ
เมื่อออกจากประตูโรงเรียนก็จะเห็นแม่น้ำล้านช้างแล้ว การเปิดสอนระบบนิเวศดังกล่าว จึงไม่เพียงแต่ทำให้นักเรียนเพิ่มพูนความรู้ หากยังกระตุ้นพวกเขามีความรักต่อบ้านเกิดด้วยความจริงใจและมีจิตสำนึกอนุรักษ์ระบบนิเวศด้วยตนเอง พวกนักเรียนร่วมกิจกรรมวาดภาพบนกระดานดำในหัวข้อ “พิทักษ์แม่น้ำล้านช้าง” และทำกิจกรรมเก็บขยะนอกโรงเรียน
นักเรียนมัธยมปลายปี 1 คนหนึ่งบอกผู้สื่อข่าวว่า เมื่ออนุรักษ์ทรัพยากรน้ำตอนต้นดีขึ้น น้ำที่ไหลสู่ตอนล่างก็ย่อมจะใสสะอาดขึ้นตาม ซึ่งเพื่อนนักเรียนในพื้นที่ต้นกำเนิดแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงนี้ มีความเข้าใจถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ระบบนิเวศและความร่วมมือแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงมาตั้งแต่เด็ก แนวคิดที่เรียบง่ายนี้ กลายเป็นความรับรู้ร่วมกันของนักเรียนในโรงเรียน ทำให้พวกเขามีจิตสำนึกด้านอารยธรรมระบบนิเวศและยินดีแบกรับภาระหน้าที่อนุรักษ์ต้นน้ำ
ส่วนในอำเภอจ๋าตัว มณฑลชิงไห่ ซึ่งอยู่ตอนต้นแม่น้ำล้านช้างเช่นกัน บุคคลหลายประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขง ได้หารือการอนุรักษ์แม่น้ำผ่านวิดีโอด้วย ดร. Htaik Lwin Ko ชาวเมียนมาร์จบปริญญาเอกและเคยมาศึกษาที่จีนกล่าวว่า เมียนมาร์มุ่งอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ดำเนินความร่วมมือกับหลายประเทศ แสวงหาการอนุรักษ์พันธุ์พืชและสัตว์อย่างจริงจัง เขาเห็นว่า ประเทศลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงมีขนบธรรมเนียมชนเผ่าและประเพณีดั้งเดิมที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้น เพื่อการพัฒนาและการอนุรักษ์ที่ดีขึ้น ต้องมีการเจรจาประสานงานกันให้มากขึ้นอีก
ส่วนนางสาวเผย ลี่น่า นักศึกษาจากประเทศลาวกล่าวว่า ประเทศลาวไม่มีทะเล สำหรับชาวลาวทุกคนแล้ว แม่น้ำโขงก็คือแม่น้ำแม่ของเรา เธอเห็นว่า ชาวบ้านลุ่มแม่น้ำล้านช้าง-แม่น้ำโขงทุกคนล้วนต้องใช้ความพยายามอนุรักษ์แม่น้ำสายนี้อย่างเต็มที่ และเธอยังเสนอประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีทันสมัยในการอนุรักษ์และสร้างสรรค์ระบบนิเวศมากขึ้น