การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางนิเวศวิทยาของจีนมีผลงานโดดเด่น
หลังผ่านการบริหารจัดการมาเป็นเวลาหลายปี เมื่อปี 2021 คุณภาพอากาศกรุงปักกิ่งได้มาตรฐานอย่างรอบด้านเป็นครั้งแรก การจัดการมลพิษทางอากาศได้ประสบความสําเร็จเชิงหมุดหมาย
ท้องฟ้าสีครามเมฆสีขาวค่อย ๆ กลายเป็นเรื่องปกติแล้ว การเปลี่ยนแปลงนี้ไม่เพียงแต่เกิดขึ้นในกรุงปักกิ่งเท่านั้น นายหวัง จินหนาน สมาชิกสภาวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศจีน และผู้อํานวยการสถาบันวางแผนสิ่งแวดล้อม กระทรวงสิ่งแวดล้อมทางนิเวศวิทยาจีนกล่าวว่า ระหว่างปี 2017 ถึง 2021 ความเข้มข้นของฝุ่นละอองขนาดเล็กในเมืองต่าง ๆ ที่มีระดับสูงกว่าอำเภอในแง่การปกครองได้ลดลง 25% สัดส่วนของวันที่คุณภาพอากาศอยู่ในระดับดีเยี่ยมเพิ่มขึ้น 4.9% และจํานวนวันมลพิษหนักลดลงเกือบ 40%
ออกมาตรการปกป้องแม่น้ำให้เป็นสีเขียวครามอย่างต่อเนื่อง
เมื่อปี 2021 คุณภาพน้ำโดยรวมในเขตทะเลสาบไป๋หยางเตี้ยน ซึ่งขึ้นชื่อเป็น "ไข่มุกแห่งภาคเหนือของจีน" อยู่ในระดับ III และดัชนีสารพิษที่สําคัญลดลงอย่างมาก ทั้งนี้หมายความว่าไป๋หยางเตี้ยนได้ยกระดับขึ้นเป็นหนึ่งในทะเลสาบที่ดีระดับชาติแล้ว
ทัศนียภาพทะเลสาบไป๋หยางเตี้ยน
ไป๋หยางเตี้ยนเป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่ที่สุดในที่ราบภาคเหนือของจีน ในอดีตเนื่องจากขาดการคุ้มครองร่วมกันจากทางต้นน้ำและปลายน้ำ ไป๋หยางเตี้ยนได้กลายเป็นสถานที่สกปรก
หลังจากการจัดตั้งเขตใหม่สงอันเมื่อปี 2017 ไป๋หยางเตี้ยนได้รับการบริหารจัดการด้านนิเวศวิทยาเชิงระบบขนานใหญ่เป็นประวัติการณ์ ได้ยกระดับขีดความสามารถในการบําบัดน้ำเสีย ลดมลพิษทางการเกษตร ดําเนินการเติมน้ำทางนิเวศวิทยา บทบาท "ไตแห่งภาคเหนือ" ได้รับการเร่งซ่อมแซมและฟื้นฟู คุณภาพน้ำปรับปรุงดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มขึ้นอย่างเด่นชัด