บทวิเคราะห์ : พฤติกรรม "สองมาตรฐาน" ของสหรัฐฯเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาชาวโลก
ในช่วงเวลานานที่ผ่านมา ประเทศตะวันตกจำนวนหนึ่งภายใต้การนำของสหรัฐฯได้โฆษณาชวนเชื่อว่าตนเองเป็นต้นแบบของ "ประชาธิปไตย เสรีภาพ และสิทธิมนุษยชน" มาโดยตลอด แต่ทว่าพฤติกรรมของพวกที่ปากว่าตาขยิบและ “ใช้สองมาตรฐาน” เพื่อผลประโยชน์ของตนเองฝ่ายเดียวนั้น ได้ปรากฏให้เห็นบ่อยครั้งจนเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของชาวโลกมานานแล้ว
อีกหนึ่งกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นเมื่อเร็วๆนี้ คือ ศาลอังกฤษได้อนุมัติให้ส่งตัวนายจูเลียน อัสซานจ์ ผู้ก่อตั้งเว็บไซต์วิกิลีกส์ไปยังสหรัฐฯในฐานะผู้ร้าย
แต่ไหนแต่ไรมาสหรัฐฯได้ใช้ความพยายามอย่างสุดกำลังความสามารถ เพื่อปกปิดอาชญากรรมสงครามต่างๆที่กระทำขึ้นระหว่างสงครามอัฟกานิสถานและสงครามอิรัก เนื่องจากอัสซานจ์ได้เปิดโปงผ่านเว็บไซต์วิกิลีกส์ถึงอาชญากรรมสงครามของทหารสหรัฐฯ เช่น การยิงพลเรือนและนักข่าวเสียชีวิต รวมถึงพยานหลักฐานจำนวนมากเกี่ยวกับสหรัฐฯเข้าแทรกแซงกิจการภายในของประเทศอื่นๆ และ “ดำเนินการดักฟังจนเคยชินเป็นนิสัย” รัฐบาลสหรัฐฯได้ฟ้องร้องเขาด้วย 18 ข้อกล่าวหา เมื่อเดือนมิถุนายนปี 2012 อัสซานจ์ขอลี้ภัยทางการเมืองต่อสถานทูตเอกวาดอร์ประจำกรุงลอนดอน เมื่อเดือนเมษายนปี 2019 อัสซานจ์ถูกส่งตัวให้อังกฤษโดยสถานทูตเอกวาดอร์ ต่อมาสหรัฐฯได้ออกคำร้องขอให้ “ส่งตัวผู้ร้ายข้ามแดน”
ทว่า หากไม่กลัวความจริง เหตุใดรัฐบาลสหรัฐฯ จึงยืนกรานที่จะไล่ตามและขอตัวอัสซานจ์? หากเชิดชู "เสรีภาพสื่อมวลชนและการพูดจริง" เหตุใดสหรัฐฯต้องกล่าวหาอัสซานจ์? หากมี “ความเป็นอิสระในกระบวนการยุติธรรม” ตามที่กล่าวอ้างจริง เหตุใดอังกฤษจึงให้ความร่วมมืออย่างแข็งขันและอนุญาตให้ส่งตัวอัสซานจ์ไปยังสหรัฐฯ?