บทวิเคราะห์: อาเซียนไม่เลือกข้างระหว่างประเทศมหาอำนาจ
ด้วยสาเหตุดังกล่าวนี้ จึงไม่น่าแปลกใจว่า เมื่อเดือนที่แล้ว 10 ประเทศอาเซียนส่วนใหญ่จึงงดออกเสียงในการลงคะแนนระงับสมาชิกภาพของรัสเซียในคณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ มาเลเซียและอินโดนีเซียยังได้แสดงความกังวลต่อความร่วมมือด้านความมั่นคงไตรภาคีของ AUKUS ที่มีออสเตรเลียและสหราชอาณาจักรเข้าร่วมด้วย
นอกจากนี้ ขณะนี้ สหรัฐฯ กำลังปวดหัวกับปัญหาเศรษฐกิจที่ซบเซาและความวุ่นวายทางสังคมที่ลุกลามท่ามกลางการระบาดของโควิด-19 ความสามารถของสหรัฐฯ ในการปฏิบัติตามคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้กับประเทศอื่น ๆ จึงถูกตั้งคำถามไม่น้อย
สรุปได้ว่า ตราบใดที่สหรัฐฯ ยังคงอยากรักษาความเป็นใหญ่ในโลก วาจาและการกระทำของเขาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็จะไม่นำมาซึ่งสันติภาพและความสงบสุขมาสู่ภูมิภาคนี้
ขณะนี้ กลุ่มประเทศอาเซียนกำลังมุ่งเน้นไปที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลังการระบาดของโควิด-19 และยืนหยัดจะสามัคคีเป็นหนึ่งเดียว พร้อมทั้งต่อต้านการแทรกแซงจากภายนอก เพื่อบรรลุเป้าหมายสันติภาพ เสถียรภาพ และการพัฒนา นักวิชาการหลายคนได้แนะให้กลุ่มประเทศอาเซียนต้องส่งสัญญาณที่ชัดเจนไปยังสหรัฐฯ ว่า อาเซียนจะยืนหยัดในความเป็นกลางและจะไม่เลือกข้างใครระหว่างประเทศมหาอำนาจ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใดก็ตาม
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้ว ความมุ่งหมายของสหรัฐฯ ที่จะแสวงหาการสนับสนุนจากกลุ่มประเทศอาเซียน เพื่อบรรลุเป้าหมายทางภูมิรัฐศาสตร์ของตัวเองนั้น ก็จะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้ จึงกล่าวได้ว่า ถึงเวลาแล้วที่สหรัฐฯ จะต้องหันมาใช้แนวทางความร่วมมือที่สร้างสรรค์และครอบคลุมในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก