ภาษา:ภาษาไทย

บทวิเคราะห์ - “ลัทธิมอนโร” ไม่มีที่ยืนแล้ว

criPublished: 2022-06-07 16:02:20
Share
Share this with Close
Messenger Pinterest LinkedIn

“การประชุมสุดยอดทวีปอเมริกาครั้งนี้ น่าจะเป็นสัญญาณแสดงว่าความเป็นผู้นำในภูมิภาคลาตินอเมริกาของสหรัฐฯนั้นเสื่อมถอยลง” นี่เป็นคำประเมินของสื่อเม็กซิโกแห่งหนึ่ง ซึ่งการประชุมสุดยอดทวีปอเมริกาครั้งที่ 9 ได้จัดขึ้นที่เมืองลอสแอนเจลิส สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 6 มิถุนายน แต่ก่อนการประชุม มีผู้นำประเทศทวีปอเมริกาหลายคนประณามและคัดค้านการประชุมดังกล่าว ท้ายที่สุด ฝ่ายสหรัฐฯตัดสินไม่เชิญคิวบา เวเนซูเอลาและนิการากัว ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่าการประชุมสุดยอดส่วนภูมิภาคที่จัดโดยสหรัฐฯนี้ คงจะเป็นการคุยเล่นเท่านั้น

เมษายนปีนี้ กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯถือปัญหาประชาธิปไตยเป็นข้ออ้าง ประกาศจะไม่เชิญผู้นำสามประเทศดังกล่าวเข้าร่วมการประชุม การกระทำดังกล่าวทำให้ประเทศลาตินอเมริกาคัดค้านอย่างรุนแรง ผู้นำประเทศเม็กซิโกและโบลิเวียแสดงท่าทีว่า หากสหรัฐฯไม่เชิญผู้นำประเทศทั้งหมดของทวีปอเมริกา ก็จะไม่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ และเมื่อเร็วๆนี้ การประชุมสุดยอดครั้งที่ 21 ของสหพันธ์พันธมิตรโบลิเวียร์เพื่อประชาชนในอเมริกาของเรา ได้ประกาศคำแถลงประณามสหรัฐฯ ที่ถือโอกาสจัดการประชุมสุดยอดดำเนินนโยบายดูหมิ่นและเหยียดประเทศลาตินอเมริกาและแคริบเบียนบางส่วน

อนึ่ง การที่ประเทศลาตินอเมริกาคัดค้านอย่างรุนแรงนี้ ก็เนื่องด้วยถูกสหรัฐฯกดดันมานานแล้ว นับตั้งแต่สหรัฐฯเสนอลัทธิมอนโรที่มุ่งควบคุมลาตินอเมริกาเมื่อ ค.ศ. 1823 เป็นต้นมา ประเทศลาตินอเมริกาก็ถูกแทรกแซงทางทหาร ถูกควบคุมทางการเมือง ถูกคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจและมีสภาพเงินเฟ้อจากการส่งออกจากสหรัฐฯ มีความลำบากมาโดยตลอด คราวนี้ สหรัฐฯถือโอกาสจัดการประชุมสุดยอดเพื่อโจมตีประเทศฝ่ายซ้ายของลาตินอเมริกาที่ “ไม่เชื่อฟัง” เป็นพยานใหม่ที่แสดงให้เห็นถึงแนวคิดของสหรัฐฯ ยังอยู่ในสภาพลัทธิมอนโร

นายฮาเวียร์ เรเยส ผู้เชี่ยวชาญปัญหาระหว่างประเทศของเม็กซิโกประณามว่า สหรัฐฯฉวยโอกาสจัดการประชุมสุดยอดเสริมสร้างอำนาจความเป็นเจ้า ย่อมจะถูกคัดค้านอย่างรุนแรง

นอกจากนี้ มีนักวิเคราะห์ชี้ว่า หากสหรัฐฯคิดจะฉวยโอกาสนี้ จับกลุ่มรวมหัวต่อต้านประเทศจีนคงยากที่จะสมหวัง เนื่องจากปัญหาที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนของภูมิภาคลาตินอเมริกาในปัจจุบัน คือ ปัญหาฟื้นฟูเศรษฐกิจ มิใช่การตั้งตัวเป็นปรปักษ์กันทางการเมือง

Yim/Ping/Cai

Share this story on

Messenger Pinterest LinkedIn