ภาษา:ภาษาไทย

นักวิทยาศาสตร์จีนสำรวจยอดเขาเอเวอร์เรสต์ทางวิทยาศาสตร์

criPublished: 2022-05-11 18:57:11
Share
Share this with Close
Messenger Pinterest LinkedIn

จีนได้เริ่มการสำรวจในชื่อ “ภารกิจยอดเขาสูง” เป็นการศึกษาทดลองทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับยอดเขา "โชโมลังมา" หรือยอดเขา "เอเวอร์เรสต์"

นักวิทยาศาสตร์เริ่มจากการใช้เรดาร์ตรวจสอบลม เครื่องวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ยานบิน และอุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลของโอโซนและไนโตรเจนไดออกไซด์ ถอดรหัสกลไกธรรมชาติในการปรับกระบวนการให้อากาศบริสุทธิ์ด้วยตัวเอง

จู ถง คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยปักกิ่ง กล่าวว่า กิจกรรมของมนุษย์รวมถึงกิจกรรมของธรรมชาติ ล้วนแต่จะปล่อยสารเคมีออกเป็นปริมาณมาก หากไม่มีขีดความสามารถในการทำความสะอาดอากาศ ก็จะเกิดการสะสมนับพันปี และทำให้อากาศเสื่อมลงจนสิ่งมีชีวิตไม่สามารถหายใจได้

ความสามารถในการทำให้อากาศบริสุทธิ์ด้วยตัวเองนี้ยังมีความสำคัญต่อโลกในหลายด้าน ทั้งความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ มลภาวะในชั้นบรรยากาศ และการควบคุมทางธรรมชาติของก๊าซเรือนกระจก

นอกจากอากาศแล้ว ทีมวิจัยยังได้เข้าตรวจสอบการเปลี่ยนแปลงของธารน้ำแข็งอีกด้วย ธารน้ำแข็งนั้นเปรียบเสมือน"วงปี" ของโลก ที่คอยบันทึกการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศตามธรรมชาติ และยังบันทึกผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มีต่อสภาพอากาศอีกด้วย

คัง ซื่อชัง สมาชิกทีมวิจัยเผยว่า พวกเขาใช้โดรนและอุปกรณ์ตรวจจับระยะไกลเพื่อวัดความสูง ใช้เรดาร์น้ำแข็งในการวัดความหนาของธารน้ำแข็ง เพื่อคำนวณว่าอุณหภูมิที่สูงขึ้นได้ทำให้ธารน้ำแข็งลดลงมากน้อยเพียงใด

ธารน้ำแข็งรองบุก (Rongbuk Glacier) เป็นธารน้ำแข็งที่ใหญ่ที่สุดในพื้นที่ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ ปัจจุบันมีจำนวนธารน้ำแข็งทั้งหมด 87 สาย แม้ว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น กว่า 20 ปีก่อนที่มีเพียง 68 สาย แต่ในความเป็นจริงนั้นธารน้ำแข็งกลับลดขนาดลง เนื่องจากธารน้ำแข็งสายใหญ่ได้ละลายตัวและกลายเป็นธารน้ำแข็งเล็ก ๆ หลายสายนั่นเอง

เพื่อให้มองเห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและผลกระทบจากกิจกรรมของมนุษย์ จึงยังคงต้องไขความลับทางวิทยาศาสตร์ของยอดเขาเอเวอร์เรสต์ต่อไปอีกหลายประการ

Share this story on

Messenger Pinterest LinkedIn