ภาษา:ภาษาไทย

คุนหมิงพลิกฟื้นความงาม“ไข่มุกแห่งที่ราบสูง”

criPublished: 2021-10-28 15:13:25
Share
Share this with Close
Messenger Pinterest LinkedIn

ตั้งแต่ปี 2003 เป็นต้นมา เมืองคุนหมิงเริ่มดำเนินการก่อสร้างพื้นที่ชุ่มน้ำทางนิเวศวิทยาของทะเลสาบเตียนฉือ ปัจจุบัน ระบบนิเวศวิทยาทะเลสาบเตียนฉือได้ฟื้นฟูในขั้นต้นแล้ว ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตได้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น นกและปลาที่ได้หายไปหลายปีในทะเลสาบเตียนฉือนั้นได้ปรากฏตัวให้เห็นใหม่

ปลาสร้อยลูกกล้วย เป็นปลาที่ได้รับการอนุรักษ์ระดับสองของจีน ได้หายไปหลายปีจากทะเลสาบเตียนฉือ แต่เมื่อเร็วๆนี้มีผู้พบปลาสร้อยลูกกล้วยใน “พื้นที่ชุ่มน้ำเป่าเฟิง” ที่อยู่ทางตะวันออกของทะเลสาบเตียนฉือ

นายหยาง จุนซิง ศาสตรจารย์สถาบันวิจัยสัตว์คุนหมิงของสภาวิทยาศาสตร์จีนได้แนะนำว่า แต่เดิมปลาสร้อยลูกกล้วยถือเป็นปลาที่เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของทะเลสาบเตียนฉือ การพบเห็นอีกครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การบำบัดน้ำในทะเลสาบเตียนฉือได้รับประสิทธิผล จึงนับเป็นการเริ่มต้นที่ดีในการฟื้นฟูความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตในทะเลสาบเตียนฉือ

การเริ่มต้นดังกล่าวนี้ล้ำค่ามาก เพราะการเริ่มต้นนี้บอกให้เราทราบว่า ในอนาคตน้ำในทะเลสาบเตียนฉือจะกลับมาสดใสดังเดิม และสัตว์ที่เป็นตัวแทนของทะเลสาบเตียนฉือที่หายไปนั้น ก็มีความเป็นไปได้ที่จะมีให้เห็นได้อีกในทะเลสาบเตียนฉือ ซึ่งยังต้องการความพยายามอย่างต่อเนื่อง

สัตว์ล้ำค่ามีให้เห็นอีกครั้ง เป็นภาพย่อผลสำเร็จของงานบำบัดสภาพนิเวศวิทยาของทะเลสาบเตียนฉือ ด้วยความพยายามอย่างต่อเนื่อง ปี 2016 คุณภาพน้ำของทะเลสาบเตียนฉือได้รับการปรับปรุงจากระดับแย่ ที่ต่อเนื่องกันกว่า 20 ปี มาเป็นระดับที่ดี ประสบผลการอนุรักษ์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมทางนิเวศวิทยาที่เห็นได้ชัด เดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคม ปี 2021 คุณภาพน้ำในทะเลสาบเตียนฉือมีระดับดีมาก

首页上一页1234全文 4 下一页

Share this story on

Messenger Pinterest LinkedIn