บทวิเคราะห์ : ความสามัคคีปรองดองของ 56 ชนเผ่าในจีน
ปีหลังๆมานี้ จีนได้ใช้มาตรการ 3 อย่างในการเร่งพัฒนาเขตชนกลุ่มน้อย ประการแรก ดำเนินยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ทางทิศตะวันตกของจีน เพราะทางตะวันตกของจีนเป็นเขตที่อยู่อาศัยสำคัญของชนกลุ่มน้อย โดยมีประชากรชนกลุ่มน้อย 71% จากกว่า 40 ชนเผ่าอาศัยอยู่ทางตะวันตกของจีน ด้วยเหตุนี้ การเร่งพัฒนาพื้นที่ทางทิศตะวันตกของจีน ก็เพื่อเร่งพัฒนาเขตชุมนุมของชนกลุ่มน้อยของจีน
ประการที่ 2 ใช้ปฏิบัติการเพื่อให้ชนกลุ่มน้อยตามเขตชายแดนมีชีวิตที่มั่งคั่งขึ้น โดยเร่งพัฒนาสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานของอำเภอชนกลุ่มน้อยจำนวน 135 อำเภอตามเขตชายแดนของจีน สร้างกลไกการเติบโตทางเศรษฐกิจขึ้น เพื่อให้อำเภอเหล่านี้มีความสามารถพัฒนาตนเองให้มากยิ่งขึ้น พร้อมยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของชนกลุ่มน้อยตามเขตชายแดน
และประการที่ 3 พัฒนาชนกลุ่มน้อยที่มีประชากรค่อนข้างน้อยจำนวน 22 กลุ่ม ชนกลุ่มน้อยที่มีประชากรค่อนข้างน้อย หมายถึง ชนเผ่าที่มีประชากรไม่ถึงจำนวน 100,000 คน จีนมีชนเผ่าอย่างนี้รวม 22 กลุ่ม โดยมีประชากรทั้งหมดไม่ถึง 600,000 คน เนื่องจากปัจจัยทางภูมิศาสตร์เป็นต้น ชนกลุ่มน้อย 22 กลุ่มนี้ตกอยู่ในสภาพด้อยพัฒนา รัฐบาลจีนจึงใช้นโยบายพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิต เพื่อกระตุ้นการพัฒนาของเขตเหล่านี้
ปัจจุบัน เขตชุมนุมของชนกลุ่มน้อยก็ให้ความสำคัญในการพัฒนาแบบการอนุรักษ์ระบบนิเวศ สีเขียวและมีคุณภาพ ตัวอย่างเช่น เขตไซ่ฮั่นป้า อำเภอปกครองตนเองชนเผ่าแมนจูและชนเผ่ามองโกล เมืองเฉิงเต๋อ มณฑลเหอเป่ย ทางเหนือของจีน ในอดีต ระบบนิเวศที่เลวร้ายเนื่องจากอยู่เหนือระดับน้ำทะเลสูง ลมแรง เป็นทะเลทราย และมีฝนตกน้อย แต่ด้วยการใช้ความพยายามเป็นเวลากว่า 50 ปี ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยในเขตไซ่ฮั่นป้าได้ปลูกป่าในพื้นที่กว่า 80,000 เฮกตาร์ กลายเป็นพื้นที่ป่าปลูกกว้างใหญ่แห่งหนึ่งของโลก