การสร้างแบรนด์เมืองของจีน: สี่เมืองหลักผู้นำการพัฒนาชาติ
สงอันถูกวางแผนให้เป็นเมืองยุทธศาสตร์ด้านการคมนาคมทางภาคเหนือ โดยมีเส้นทางติดต่อของรถไฟสายสำคัญ รวมถึงการสร้างสนามบินขนาดใหญ่ไว้รองรับประชาชนจากส่วนต่อขยายเมืองในปักกิ่ง สงอันถูกพัฒนาให้อยู่ในพื้นที่สามเหลี่ยมล้อมรอบด้วยกรุงปักกิ่ง นครเทียนจิน และ มณฑลเหอเป่ย ยังมีการคาดการณ์จากนักวิเคราะห์ต่างประเทศให้เขตเมืองใหม่นี้จะดึงดูดเงินทุนและบุคลากรเข้ามาจำนวนมากอีกด้วย
ช่องทางการสื่อสารในการสร้างภาพลักษณ์เมืองสำคัญของจีน สำรวจโดย Oval Branding พบว่าการประชุม การจัดกิจกรรมและการสัมมนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เป็นช่องทางในการสร้างองค์ความรู้การพัฒนาเมืองที่มีประสิทธิภาพที่สุด
แม้ว่าจะมีการร่วมมือกันของภาครัฐและเอกชน แต่กลไกในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองของจีนมาจากการพัฒนาจากภาครัฐมากกว่าวิสัยทัศน์ของผู้นำทางธุรกิจและภาคเอกชน อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญที่ทำให้ความร่วมมือบรรลุผลสำเร็จคือความเชื่อใจจากภาคประชาชนและการยอมรับการพัฒนา โดยเล็งเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของเมืองในทางที่ดีในอนาคต ซึ่งเป็นกลไกหนึ่งที่สามารถกระตุ้นการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติได้อย่างยั่งยืน
บทความโดย
อ.ดร.ธีรติร์ บรรเทิง
คณะนิเทศศาสตร์และนวัตกรรมการจัดการ
สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์
เอกสารอ้างอิง:
1. https://placebrandobserver.com/city-branding-media-portrayal-of-chinese-mega-cities/
2. https://placebrandobserver.com/shanghai-city-performance-brand-strength-reputation/
3. บทความ Branding a city through journalism in China: The example of Shenzhen https://doi.org/10.1177/14648849211004022
4. บทความ Economic city branding and stakeholder involvement in China: Attempt of a medium-sized city to trigger industrial transformation https://doi.org/10.1016/j.cities.2020.102754
5. www.brandinginasia.com/chinese-place-branding-in-2020-the-challenge-to-differentiate/
6. www.brandbuffet.in.th/2017/12/shenzhen-silicon-valley-of-asia/