บทวิเคราะห์: ประเทศสมาชิกอาเซียนมีปฏิกิริยาต่างกันต่อสถานการณ์ยูเครน-รัสเซีย
วันที่ 9 มีนาคมที่ผ่านมา นายโจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย เรียกร้องให้รัสเซียและยูเครนปฏิบัติตามข้อตกลงหยุดยิง ขณะเดียวกันยังเน้นย้ำว่าการเจรจาเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการผ่อนคลายสถานการณ์ตึงเครียดในปัจจุบันระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ปธน.วิโดโด ระบุด้วยว่า การที่บางประเทศคว่ำบาตรรัสเซียทางเศรษฐกิจไม่ใช่ทางเลือกที่สมควร ปัจจุบันสำหรับทุกประเทศเรื่องสำคัญที่สุด คือ ช่วยให้สถานการณ์ตึงเครียดผ่อนคลายลง ป้องกันไม่ให้สถานการณ์ยกระดับสูงขึ้นและส่งเสริมการเจรจา
ปีนี้อินโดนีเซียเป็นประเทศประธานหมุนเวียนกลุ่มจี 20 เมื่อเร็ว ๆ นี้ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องของอินโดนีเซียระบุว่า อินโดนีเซียเห็นว่าทุกประเทศต่างมีสิทธิเอาใจใส่ปัญหาประเภทต่าง ๆ ซึ่งรวมถึงการปะทะกันระหว่างรัสเซีย-ยูเครน แต่กลุ่มจี 20 ในฐานะกลไกความร่วมมือทางเศรษฐกิจแบบพหุภาคี อินโดนีเซียไม่คิดที่จะจัดการปะทะระหว่างรัสเซีย-ยูเครนให้อยู่ในวาระของกลุ่มจี 20 ในขณะนี้
วันที่ 25 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศเวียดนาม ระบุว่า เวียดนามสนใจการปะทะด้วยกำลังอาวุธในยูเครนเป็นอย่างยิ่ง และเรียกร้องให้ฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องใช้ท่าทียับยั้ง วันที่ 1 มีนาคมที่ผ่านมา เอกอัครราชทูต ตาง ดินห์ เคว หัวหน้าคณะผู้แทนเวียดนามประจำสหประชาชาติได้ขึ้นพูดในการประชุมวิสามัญเร่งด่วนเกี่ยวกับปัญหายูเครนของสมัชชาสหประชาชาติ โดยเรียกร้องให้ฝ่ายต่าง ๆ เจรจากันและคุ้มครองประชาชน
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศลาวออกแถลงการเกี่ยวกับสถานการณ์ยูเครนโดยระบุว่า ลาวกำลังติดตามการคลี่คลายและเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์ยูเครนซึ่งสลับซับซ้อนมาก เรียกร้องให้ฝ่ายต่าง ๆ ใช้ท่าทียับยั้งและใช้ความพยายามเพื่อผ่อนคลายสถานการณ์ตึงเครียดที่มีความเป็นไปได้ว่าจะกระทบสันติภาพและเสถียรภาพระหว่างประเทศ ลาวสนับสนุนการใช้สันติวิธีและการทูตแก้ไขปัญหาดังกล่าว