บทวิเคราะห์: ประเทศสมาชิกอาเซียนมีปฏิกิริยาต่างกันต่อสถานการณ์ยูเครน-รัสเซีย
กระทรวงการต่างประเทศบรูไนออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ว่า บรูไนห่วงใยสถานการณ์ตึงเครียดและปฏิบัติการทางทหารในยูเครนจะยกระดับสูงขึ้น รวมทั้งประณามการกระทำที่รุกรานอธิปไตยใด ๆ
เกี่ยวกับการปะทะกันระหว่างรัสเซีย-ยูเครน กระทรวงการต่างประเทศมาเลเซียออกแถลงการณ์เมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมา เรียกร้องและเร่งรัดให้ฝ่ายต่าง ๆ ผ่อนคลายปฏิบัติการที่ปฏิปักษ์กัน เพื่อป้องกันการสูญเสียผู้บริสุทธิ์ไปมากกว่านี้
วันที่ 10 มีนาคมที่ผ่านมา กระทรวงการต่างประเทศของไทยอนุมัติงบประมาณมูลค่า 2 ล้านบาทเพื่อให้ความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมต่อยูเครน
กัมพูชาเป็นประเทศประธานหมุนเวียนอาเซียนในปีนี้ เมื่อวันที่ 20 มีนาคม ระหว่างการเจรจากับนายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ที่เดินทางเยือนกัมพูชา สมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ได้พูดถึงสถานการณ์ยูเครนพร้อมกับเน้นย้ำว่า สงครามใดมิอาจยุติสงคราม ทางออกเดียวคือการเจรจาสันติภาพ
บรรดานักวิเคราะห์ลงความเห็นว่า แม้ว่าการปะทะกันระหว่างรัสเซีย-ยูเครนห่างจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ตาม แต่ความต่อเนื่องของการปะทะกันดังกล่าวจะทำให้ราคาอาหารการกินและพลังงานในภูมิภาคนี้ปรับตัวสูงขึ้น กระทบต่อห่วงโซ่อุปทานและการผลิต ตลอดจนเศรษฐกิจของประเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้