บทวิเคราะห์ - จากการประชุมผู้นำสุดยอดสหรัฐฯ-อาเซียนพิจารณาแนวคิด “ความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน”
ปีนี้ กัมพูชา ไทย และอินโดนีเซีย เป็นประเทศประธานของอาเซียน เอเปก และ G20 ตามลำดับ ทั้งอาเซียนและสหรัฐฯ ตั้งใจจะนำประเด็นต่าง ๆ ของการประชุมครั้งนี้ไปปรึกษาหารือกันต่อในการประชุมสุดยอดของอาเซียน เอเปก และ G20 ในปีนี้
นอกจากนี้ ระหว่างการประชุมผู้นำสุดยอดสหรัฐฯ-อาเซียนครั้งนี้ ปธน.ไบเดน ยังเสนอให้นายโยฮันเนส อับราฮัม (Yohannes Abraham) ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการความมั่นคงแห่งชาติสหรัฐฯ เป็นผู้แทนสหรัฐฯประจำอาเซียน มีนักวิเคราะห์ชี้ให้เห็นว่า พิจารณาจากการประชุมครั้งนี้จะพบว่า สหรัฐฯ เจ้าภาพของการประชุมวางจุดสำคัญอยู่ที่ความปลอดภัยส่วนภูมิภาคและความร่วมมือทางการทหารมากกว่า แต่อาเซียนต้องการขยายการส่งออกถึงสหรัฐฯ และหวังให้สหรัฐฯ เข้าร่วมความตกลงการค้าเสรีส่วนภูมิภาค ตัวอย่างเช่น นายอิสมาอิล ซาบรี ยาคอบ นายกฯมาเลเซียได้เร่งให้สหรัฐฯใช้ปฏิบัติการแข็งขันยิ่งขึ้นในด้านการค้าและการลงทุนในอาเซียน และวิงวอนให้ธุรกิจสหรัฐฯ ให้ความสำคัญเขตการค้าเสรีที่ใหญ่ที่สุดของโลก
ส่วนพล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทยระบุว่า อาเซียนพร้อมจะมีบทบาทในฐานะเวทีหลักของภูมิภาคที่จะเชื่อมโยงผู้เล่นทุกคนเข้าด้วยกันเพื่อสร้างภูมิรัฐศาสตร์ที่สงบสุข
ทั้งนี้ มีสื่อมวลชนระบุว่า เมื่อเทียบกับความช่วยเหลือมูลค่า 40,000 ดอลลาร์สหรัฐของสหรัฐฯที่มีต่อยูเครน การลงทุนในอาเซียนมูลค่า 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐของสหรัฐฯนั้น น้อยมาก
แนวคิด “ความเป็นศูนย์กลางของอาเซียน” เป็นหลักการพื้นฐานของอาเซียนในการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต และดำเนินความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ โดยมีนัย 2 ประการคือ ต้องป้องกันไม่ให้อาเซียนถูกแบ่งแยก และเป็นตัวของตัวเอง โดยบ่งบอกให้บรรดามหาประเทศต้องเคารพแนวคิดความเป็นศูนย์กลางของอาเซียนด้วย
เป็นเวลากว่าครึ่งศตวรรษหลังจากอาเซียนจัดตั้งขึ้น 10 ประเทศสมาชิกอาเซียนที่มีความแตกต่างและมีความหลากหลายมากนั้น ปฏิบัติตามหลักการความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันโดยผ่านการปรึกษาหารือกัน เพื่อความสามัคคี ความเป็นตัวของตัวเอง และความเข้มแข็งของอาเซียน
ประชาคมโลกก็คาดหวังว่า อาเซียนจะแสดงบทบาทความเป็นศูนย์กลางในการควบคุมความขัดแย้งกันและรักษาความสมดุลกันระหว่างบรรดามหาประเทศ