บทวิเคราะห์ : ไทยจัดแสดงอะไรในงาน CIIE
นอกจากนี้นิทรรศการของไทยยังประชาสัมพันธ์ตราสัญลักษณ์รางวัลผู้ประกอบธุรกิจส่งออกดีเด่นแห่งนายกรัฐมนตรีไทย (Prime Minister’s Export Award 2021) ตราสัญลักษณ์ T Mark (Thailand Trust Mark) สัญลักษณ์แห่งความยอดเยี่ยมและคุณภาพที่ได้รับการยอมรับ ตราสัญลักษณ์ DEmark (Design Excellence Award) รางวัลสินค้าไทยที่มีการออกแบบดี และตราสัญลักษณ์รับรองคุณภาพข้าวหอมมะลิ เป็นต้น ตราสัญลักษณ์เหล่านี้แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลไทยให้ความสำคัญเรื่องคุณภาพและมาตรฐานของผลิตภัณฑ์รวมถึงการบริการของไทย เพื่อประกันให้บรรดาผู้บริโภคสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการที่มีคุณภาพจากประเทศไทย
ด้านวัฒนธรรมและการท่องเที่ยว นิทรรศการของไทยเปิดฉายวีดิทัศน์เรื่อง “ไทยมุ่งมั่นพัฒนาเป็นศูนย์ดูแลสุขภาพโลก” โดยแนะนำวิธีการบำรุงสุขภาพดั้งเดิมแบบไทย ห้องออกกำลังกายทันสมัยที่เปิดสอนมวยไทย สปา และการทำสมาธิ เป็นต้น ประกอบกับผู้ฝึกสอนมืออาชีพที่ให้บริการอย่างละเอียดประณีตและอบอุ่น ซึ่งความเหนือกว่าเหล่านี้ทำให้ประเทศไทยเป็นที่นิยมชมชอบของผู้ที่สนใจดูแลสุขภาพจากทั่วโลก นอกจากนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมารัฐบาลไทยยังใช้นโยบายต่าง ๆ พัฒนาเศรษฐกิจความคิดสร้างสรรค์ ด้วยเหตุนี้อุตสาหกรรมการผลิตดิจิทัลของไทย ซึ่งรวมถึงวัฒนธรรมที่มีความคิดสร้างสรรค์และการถ่ายทำภาพยนตร์ เป็นต้น ต่างได้รับการต้อนรับจากทางสากล
งาน CIIE ครั้งที่ 4 ในปีนี้แบ่งพื้นที่จัดนิทรรศการออกเป็น 6 เขต ได้แก่ เขตจัดแสดงอาหารและผลิตผลทางการเกษตร เขตจัดแสดงรถยนต์ เขตจัดแสดงเทคโนโลยีและอุปกรณ์ เขตจัดแสดงผลิตภัณฑ์ผู้บริโภค เขตจัดแสดงเวชภัณฑ์และการดูแลสุขภาพ ตลอดจนเขตการค้าภาคบริการ โดยมีสินค้าเกือบ 200 ชนิดจากหลายสิบธุรกิจของไทยเข้าร่วมนิทรรศการครั้งนี้ สินค้าไทยส่วนใหญ่ร่วมจัดนิทรรศการในเขตจัดแสดงอาหารและผลิตผลทางการเกษตร รวมถึงเขตจัดแสดงผลิตภัณฑ์ผู้บริโภคเป็นหลัก เมื่อเดินชมนิทรรศการในสองเขตนี้จะพบบูธเครือเจริญโภคภัณฑ์ บริษัท ฟู้ด ออนวาร์ด จำกัด บริษัท ไทยเพรซิเดนท์ฟูดส์ จำกัด บริษัท ไทย ดีญ่า จำกัด และสถาบันอัญมณีศาสตร์แห่งเอเชีย (AIGS) เป็นต้น ในเขตจัดแสดงเวชภัณฑ์และการดูแลสุขภาพ มีบูธของบริษัท ศรีตรังแอโกรอินดสัทรี จำกัด และบริษัท เฉลิมไทย อินเตอร์เนชันแนล จำกัด ซึ่งเป็น 2 บริษัทไทย ส่วนธนาคารกสิกรไทยเป็นธุรกิจไทยเพียงรายเดียวที่เข้าร่วมนิทรรศการในเขตจัดแสดงการค้าภาคบริการ