ภาษา:ภาษาไทย

สถานีอวกาศจีนในยุคมีมนุษย์ประจำการระยะยาว

criPublished: 2021-11-01 09:03:36
Share
Share this with Close
Messenger Pinterest LinkedIn

วันที่ 16 ตุลาคม จีนประสบความสำเร็จในการส่งยานอวกาศพร้อมนักบิน “เสินโจว-13” ขึ้นสู่อวกาศ เพื่อไปประจำการยังสถานีอวกาศจีนซึ่งเป็นสัญลักษณ์แสดงว่า สถานีอวกาศจีนเริ่มเข้าสู่ยุคที่มีมนุษย์ประจำอยู่ในระยะยาว

โครงการการบินอวกาศพร้อมมนุษย์ของจีนเริ่มต้นขึ้นในทศวรรษ 1990 ตามยุทธศาสตร์ “3 ย่างก้าว” ปัจจุบันได้เข้าสู่ก้าวที่ 3 กล่าวคือ “การสร้างสถานีอวกาศ โดยจะตอบโจทย์การประยุกต์ใช้ทางอวกาศ โดยมีคนดูแลสถานีอวกาศในระยะยาว” สถานีอวกาศที่โคจรอยู่ใกล้โลกเป็นสถานที่อยู่อาศัยของนักบินอวกาศระยะยาว และเป็นสถานที่ปฏิบัติภารกิจของนักบินอวกาศผู้ดูแลรักษาอุปกรณ์ ซ่อมบำรุง และยืดอายุการใช้งานสถานีอวกาศ กล่าวได้ว่าเป็นฐานที่มั่นในอวกาศ

ก่อนหน้านี้โครงการการบินอวกาศพร้อมมนุษย์ของจีนเคยท่องอวกาศมาแล้วหลายครั้ง ตั้งแต่การส่งยานอวกาศพร้อมนักบินขึ้นสู่ห้วงอวกาศ การส่งนักบินขึ้นสู่อวกาศ การปฏิบัติภารกิจนอกยานอวกาศ รวมไปถึงการส่งห้องปฏิบัติการขึ้นสู่อวกาศ ด้วยการใช้เทคโนโลยีไป-กลับระหว่างอวกาศ-โลก การออกปฏิบัติภารกิจนอกยานอวกาศ การเชื่อมต่อและประกอบเข้าด้วยกันในอวกาศ ซึ่งปูทางสู่การสร้างสถานีอวกาศอย่างสุขุมรอบคอบ

วันที่ 29 เมษายนปีนี้ จีนส่งโมดูลหลัก “เทียนเหอ” ของสถานีอวกาศจีนขึ้นสู่อวกาศจากศูนย์ปล่อยยานอวกาศเหวินชางด้วยความสำเร็จ เป็นนัยแสดงว่า สถานีอวกาศจีนเข้าสู่ช่วง “การก่อสร้าง” ตามการออกแบบ โครงสร้างของสถานีอวกาศประกอบด้วย 3 โมดูล ในส่วนของโมดูลหลัก “เทียนเหอ” มีน้ำหนัก 22.5 ตัน เป็นยานอวกาศขนาดใหญ่ที่สุดของจีนที่ขึ้นสู่อวกาศในขณะนี้ โมดูลหลักนี้เป็นศูนย์บัญชาการ การกำกับดูแลสถานีอวกาศ และเป็นที่อยู่อาศัยของนักบินอวกาศที่จะใช้ชีวิตในอวกาศเป็นเวลานาน

123全文 3 下一页

Share this story on

Messenger Pinterest LinkedIn