สถานีอวกาศจีนในยุคมีมนุษย์ประจำการระยะยาว
ในช่วงประจำการยังสถานีอวกาศในวงโคจร ทีมลูกเรือดังกล่าวมีหน้าที่ดูแลโมดูลหลัก “เทียนเหอ”, ยานบินอวกาศพร้อมนักบิน “เสินโจว-13”, ยานขนส่ง “เทียนโจว-2” และ “เทียนโจว-3” ที่เป็นหนึ่งเดียวไปพร้อมกัน รวมถึงหน้าที่อื่น ๆ เช่น การทดลอง Bioregenerative life support system (BLSS) การจัดเก็บข้อมูลในวงโคจร การวิจัยเทคโนโลยีวิศวกรรมชนิด “Human Factors Engineering” แพทยศาสตร์การบินอวกาศ ระบบการประยุกต์ใช้ในอวกาศ และการเผยแพร่ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ตลอดจนการดูแลธุรกรรมต่าง ๆ บนสถานีอวกาศ ทั้งยังจะออกปฏิบัติภารกิจนอกยานอวกาศ 2 - 3 ครั้ง เพื่อทำการทดสอบเทคโนโลยีการปฏิบัติภารกิจนอกยานและเทคโนโลยีประกันให้นักบินอวกาศประจำยังสถานีอวกาศในระยะยาว อันเป็นพื้นฐานของการสร้างสถานีอวกาศจีน
“ประจำการในวงโคจร 6 เดือน” เป็นสถิติใหม่ของจีนในการส่งนักบินอวกาศขึ้นไปประจำยังอวกาศ ถือเป็นวิถีปกติในการเข้าประจำการบนสถานีอวกาศสำหรับทีมนักบินอวกาศ ทั้งนี้ห่างจากครั้งแรกที่จีนส่งนักบินอวกาศขึ้นสู่อวกาศถึง 18 ปีถ้วน
ย้อนกลับไปวันที่ 16 ตุลาคม 2003 ยานอวกาศพร้อมมนุษย์ “เสินโจว-5” กลับสู่พื้นโลกพร้อม “หยาง ลี่เหว่ย” นักบินอวกาศคนแรกของจีนด้วยความปลอดภัย ทำให้ความฝันของชาวจีนในการบินสู่อวกาศในช่วงสหัสวรรษ (1,000 ปี) กลายเป็นจริงขึ้น
ทางช้างเผือกแสงทองผ่องอำไพ ความใฝ่ฝันไร้ขอบเขต ในขณะที่ “ประจำการในวงโคจรเป็นเวลา 6 เดือน” จะเป็นวิธีปกติในการเข้าประจำการสำหรับทีมนักบินอวกาศ จะทำให้นักบินอวกาศจีนฝันได้อีกไกล จะทำให้ชาวจีนอุทิศกำลังและสติปัญญาเพื่อใช้อวกาศในทางสันติได้มากขึ้น