ภาษา:ภาษาไทย

ท่าเรือแหลมฉบัง—ประตูการค้าของอินโดจีนในอนาคต

criPublished: 2018-10-06 14:53:35
Share
Share this with Close
Messenger Pinterest LinkedIn

“แต่ผมมองว่า ถ้าเมื่อไหร่รถไฟมีการเชื่อมต่อกันแล้วเสร็จ ก็จะเป็นทางเลือกอีกทางเลือกหนึ่งของประเทศจีนในการนำส่งสินค้าเข้าออก อาจจะสามารถไปสู่โลกได้เลย เพราะว่าในวันนี้ ทางท่าเรือเราพบว่า ประเทศจีนก็มีการสร้างรถไฟอีกเส้นหนึ่ง เป็นเส้นทางคู่ขนานที่สามารถขนส่งตู้สินค้าไปยังยุโรปได้แล้ว เข้าใจว่าในปีที่ผ่านมา ก็มีการขนส่งสินค้าจากประเทศจีนไปยังยุโรปไปแล้ว การระบายสินค้าของตอนใต้ของจีน ถ้าสามารถระบายมาทางใต้ได้โดยผ่านทางท่าเรือแหลมฉบัง อาจจะใกล้กว่าที่จะขนส่งจากเมืองคุนหมิงไปทางท่าเรือกว่างโจวด้านใต้ ซึ่งท่าเรือทางกว่างโจวจะเป็นจุดเริ่มต้นของ Belt and Road ที่ผมเคยดูนี่ ท่าเรือแหลมฉบังเดิมไม่ได้อยู่ในเส้นทางของ Belt and Road แต่ในวันนี้ หลังจากที่เราได้มีการประชุม การพูดคุย และการผลักดันจากรัฐบาลจีนในเรื่อง Belt and Road ประเทศไทยได้เข้าไปมีส่วนร่วม ได้มีการประชุมที่เมืองกว่างโจวหลายครั้ง ก็ต้องถือว่าเป็นโชคดีของประเทศไทยที่ไม่ได้ตกขบวนสักทีเดียว ซึ่งเดิมคือจากท่าเรือทางตอนใต้จะไปเวียดนาม และก็ไปสิงคโปร์เลย ในวันนี้ เราก็เห็นภาพใหม่ว่า จากท่าเรือทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศจีน จะมาเวียดนาม และมาเข้าที่ท่าเรือแหลมฉบังด้วย และก็ไปสิงคโปร์ด้วย ดังนั้น Belt and Road ก็จะมีท่าเรือแหลมฉบังอยู่ในเครือข่ายนี้ด้วย เป็นยุทธศาสตร์ของทางจีน และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศไทยพอดี ที่สามารถที่จะส่งเสริมการค้าระหว่างทั้งสองประเทศไปด้วยกัน ท่าเรือแหลมฉบังก็พยายามที่ก็จะเป็นประตูการค้าของอินโดจีน รวมไปถึงประเทศจีนตอนใต้ด้วย”

“รางที่จะใช้ก็จะเป็นราง standard gauge ซึ่งเป็นรางที่จะต่อเชื่อมจากภาคใต้ของจีน ผ่านประเทศลาว แล้วลงมาสู่ประเทศไทย ก็จะเป็นหลัก ๆ ของตัวท่าเรือแหลมฉบัง และต้องถือว่าเป็นยุทธศาสตร์ของท่าเรือแหลมฉบังด้วยเช่นเดียวกันในการที่จะเชื่อมไปทางตอนใต้ของจีนด้วย”

首页上一页1234全文 4 下一页

Share this story on

Messenger Pinterest LinkedIn