นักวิชาการไทยเห็นว่า“การแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง”ควรเป็นทางเลือกสำหรับจีนกับสหรัฐฯ ในการจัดการความสัมพันธ์ระหว่างกัน
กระนั้นท่าทีของจีนในวงประชุมก็ไม่ใช่การยอมสยบต่อข้อเรียกร้องฝ่ายสหรัฐฯ หรือ อวดความแข็งกร้าว ทว่าผสมสานความสมดุลทางการทูตอย่างลงตัว ในขณะที่จีนแสดงความกังวลเกี่ยวกับการกระทำของสหรัฐฯ จีนก็ย้ำเรื่องความร่วมมือเพื่อประโยชน์สุขของทั้งสองฝ่าย หมายความว่าในความขัดแย้ง จีน-สหรัฐฯ ก็สามารถอยู่ร่วมกันได้ และนี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่จีนเสนอความสัมพันธ์บนความต่าง ย้อนไปในปี 1955 นายกรัฐมนตรีจีน นายโจว เอินไหล เคยบรรลุหลักปัญจศีล หรือ “แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง” กับหลายประเทศในภูมิภาคสำคัญโดยเฉพาะกับอินเดียซึ่งถือเป็นคู่กรณี เมื่อวงล้อประวัติศาสตร์ต้องย้อนกลับมาที่จุดเดิมอีกครั้ง จีนและสหรัฐฯ ย่อมไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะหันมาจับมือกันมากกว่าจะเอาชนะคะคานกันต่อไป
การแสวงจุดร่วม สงวนจุดต่างเคยประสบความสำเร็จมาแล้วในยุคสงครามเย็น การเอ่ยอ้างหลักการคล้ายกันในยุคปัจจุบันย่อมถือเป็นความหวังเดียวในห้วงเวลาแห่งความแบ่งแยก เพราะการสู้รบทั้งในทางเศรษฐกิจ ข่าวสาร และการทหารจะไม่ช่วยให้ใครกุมชัยชนะอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด มีแต่จะเสียหายทั้งสองฝ่ายพร้อมนำพาโลกส่วนที่เหลือไปสู่ความล่มสลาย นี่คือสารที่จีนและน่าจะอีกหลายประเทศหวังให้สหรัฐฯ ตอบรับเพื่อความยั่งยืนของประชาคมนานาชาติ
สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดย ภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งประเทศจีน