พรรคคอมมิวนิสต์จีนในสายตาของพลเอกสุรสิทธิ์ ถนัดทาง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยยุทธศาสตร์ไทย-จีน สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.)
พลเอกสุรสิทธิ์ ถนัดทาง:จีนกับไทยเป็นประเทศเพื่อนบ้านฉันมิตรที่มีการไปมาหาสู่กันทางเศรษฐกิจและการค้าอย่างต่อเนื่องและมึการประกาศความสัมพันธ์ทางการระหว่างผู้นำระดับสูงสุดของทั้งสองประเทศว่าเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ต่อกันและกัน ดังนั้น จีนกับไทยควรมีความร่วมมือด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมอย่างใกล้ชิดและมีความเข้มข้นเชิงคุณภาพให้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็น
1) การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างความสำเร็จในอดีตและการแสวงหานวัตกรรมใหม่ อาทิ (1)แนวคิดการพัฒนารูปแบบใหม่ (New Development Pattern) (2) Health and Green Silk Road (3) การยกระดับความสัมพันธ์ไทย-จีนสู่คุณภาพด้วย BRI with Hearts and Minds (4) Digital Silk Road และ (5) The 21st-century Maritime Silk Road เป็นต้น
2) การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างภาครัฐกับภาคการตลาด อาทิ การเสริมสร้างและสนับสนุนโอกาสโครงการ Private Partnership Program(PPP) ให้มากขึ้น เป็นต้น
3) การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตลาดภายในกับการค้าระหว่างประเทศทั้งในเชิงทวิภาคีและพหุภาคี โดยต้องหากลไกให้ ตลาดภายในของจีนช่วย booster การค้าไทย-จีนมากยิ่งขึ้น
4) การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนากับความมั่นคงปลอดภัย โดยเฉพาะความร่วมมือแบบความมั่นคงร่วม (cooperative defence) ด้านความั่นคงรูปแบบใหม่ทั้งในการสนับสนุนการฝึกร่วมด้านการบริการ การรักษาความปลอดภัย ไปจนถึงการวิจัยรูปแบบวิธีการและด้านอุปกรณ์หรือการปฏิบัติการ เป็นต้น
5) การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างยุทธศาสตร์(เป้าหมาย)และยุทธวิธี(วิธีการ) กล่าวคือ ทั้งสองประเทศมีระบบการเมืองที่แตกต่างกัน ดังนั้นยุทธวิธี/วิธีการไปสู่ยุทธศาสตร์/เป้าหมายย่อมแตกต่างกัน การหารูปแบบวิธีการหรือแลกเปลียนบทเรียนจากปฏิบัติการต่างๆ (Lessons Learned) ย่อมเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ชาวโลกว่า ความรัก-ความเข้าใจกัน ความมุ่งมั่นตั้งใจในการแสวงหาหรือการให้สิ่งที่ดีๆต่อกัน ทำให้ทั้งสองประเทศ(จีน-ไทย)ที่แม้จะมีระบบการเมืองที่แตกต่างกันและอีกหลายๆประเทศสามารถอยู่ในประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกันได้อย่างสันติสุข
สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดยภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งประเทศจีน-CMG