ภาษา:ภาษาไทย

ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น : โมเดลจีนสร้างความทันสมัย จะเป็น“ต้นแบบ”ของประเทศอื่นได้หรือไม่

criPublished: 2021-07-09 08:29:34
Share
Share this with Close
Messenger Pinterest LinkedIn

ผู้สื่อข่าว : ปธน.สี จิ้นผิงกล่าวว่า หนทางสู่ความทันสมัยไม่มีรูปแบบตายตัว สิ่งที่ดีที่สุดคือแบบที่เหมาะกับตัวเอง ความพยายามของทุกประเทศในการแสวงหาหนทางสู่ความทันสมัยที่เหมาะสมกับสภาพของประเทศตนอย่างอิสระนั้นควรได้รับการเคารพ ท่านมีมุมมองในประเด็นนี้อย่างไร?

ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น: เห็นด้วยกับประเด็นที่ว่า หนทางสู่ความทันสมัยไม่มีรูปแบบตายตัว สิ่งที่ดีที่สุดคือแบบที่เหมาะสมกับตัวเอง

เนื่องจากความทันสมัยขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละประเทศ เช่น อาจจะมีเรื่องของศาสนา มีเรื่องของวัฒนธรรมมาเกี่ยวข้องด้วย ดังเช่นประเทศไทยเราเป็นเมืองพุทธและมีศิลปะวัฒนธรรมของไทยมายาวนาน ความทันสมัยของไทยในการฟื้นฟูศิลปะเหล่านี้ ก็อาจจะต่างจากความทันสมัยของประเทศที่เป็นมุสลิม เป็นต้น ความทันสมัยจึงไม่มีรูปแบบตายตัว และต้องเหมาะสมกับบริบทของแต่ละประเทศ

อย่างไรก็ดี เราสามารถร่วมมือกัน จับมือกัน ส่งเสริมกันในความทันสมัยบางอย่างที่มีลักษณะสากล ยกตัวอย่างเช่น ความทันสมัยในการใช้ชีวิตยุคดิจิทัล ซึ่งถือว่า บางด้านเป็นลักษณะสากล แต่บางด้านก็เป็นเรื่องเฉพาะที่ขึ้นอยู่กับวิถีชีวิตในแต่ละท้องถิ่น ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรม ขึ้นอยู่กับศาสนา ขึ้นอยู่กับรูปแบบการใช้ชีวิตของแต่ละประเทศ ซึ่งเราเรียกว่า ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละประเทศนั่นเอง

สัมภาษณ์และเรียบเรียงโดยภาคภาษาไทย ศูนย์เอเชียแอฟริกา สถานีวิทยุและโทรทัศน์ส่วนกลางแห่งประเทศจีน-CMG

ลิขสิทธิ์เป็นของ China Face

首页上一页1234 4

Share this story on

Messenger Pinterest LinkedIn